วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่างทางโครงสร้าง ของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

ความแตกต่างทางโครงสร้าง
ของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล
    โครงสร้าง ( Structure ) เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา เราพูดเป็นประโยคที่มีใจความสมบูรณ์และสื่อสารกันรู้เรื่องเพราะเรารู้หรือเข้าใจโครงสร้างของภาษา ในการแปลผู้แปลคิดว่าศัพท์จะเป็นปัญหา แต่ปัญหาที่สำคัญและลึกซึ้งกว่านั้นคือ ปัญหาทางโครงสร้าง ถึงแม้ผู้แปลจะรู้คำศัพท์ในประโยคแต่หากไม่เข้าใจความสัมพันธ์ของศัพท์เหล่านั้นก็มีโอกาสล้มเหลวได้ เพราะอาจตีความผิดหรือถ่ายทอดเป็นภาษาเป้าหมายที่ผิดได้


1.              ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ                                                     
ชนิดของคำ ( parts of speech ) เป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้าง เพราะเมื่อเราสร้างประโยคต้องนำคำมาเรียงร้อยกันให้เกิดความหมายที่ต้องการสื่อสาร ประโยคจะถูกไวยากรณ์เมื่อเราใช้ชนิดของคำตรงกับหน้าที่ทางไวยากรณ์
                ประเภททางไวยากรณ์ ( grammatical category ) หมายถึงลักษณะสำคัญในไวยากรณ์ของภาษาใดภาษาหนึ่ง ซึ่งมักสัมพันธ์กับชนิดของคำ
1.1       คำนาม
เป็นลักษณะสำคัญหรือลักษณะบ่งชี้ในภาษาอังกฤษแต่เป็นลักษณะที่ไม่สำคัญในภาษาไทย                  1.1.1 บุรุษ ( person )
               เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกว่าเป็นคำนามหรือสรรพนามที่นำมาใช้ในประโยคหมายถึง    ผู้พูด ( บุรุษที่ 1) ผู้ที่ถูกพูดด้วย  ( บุรุษที่ 2 ) หรือผู้ที่ถูกพูดถึง ( บุรุษที่3 )  ภาษาอังกฤษแยกสรรพนามตามบุรุษที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 อย่างเด่นชัด นอกจากนั้นในภาษาอังกฤษยังมีการเติม - s ที่กริยาของประธานที่เป็นบุรุษที่ 3 เอกพจน์
                1.1.2 พจน์ (number)
               เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกจำนวน ว่าเป็นจำนวนเพียงหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่ง ภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้พจน์โดยใช้ตัวกำหนด ( determiner ) ที่ต่างกัน เช่นใช้ a/an นำหน้าคำนามเอกพจน์เท่านั้น และแสดงพหุพจน์โดยการเติมหน่วยท้ายคำศัพท์ - s แต่ในภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้เช่นนี้
                1.1.3 การก (case) การก คือประเภททางไวยากรณ์ของคำนามเพื่อบ่งชี้ว่าคำนามนั้นเล่นบทบาทอะไร คือสัมพันธ์กับคำอื่นในประโยคอย่างไร ในภาษาอังกฤษการกของคำนามมักแสดงโดยการเรียงคำและคำที่หมายถึงเจ้าของจะอยู่หน้าคำที่หมายถึงสิ่งที่มีเจ้า ของ ในภาษาไทยไม่มีการเติมหน่วยท้ายคำ เพื่อแสดงการก แต่ใช้การเรียงคำ เหมือนกับการกประธานและกรรมในภาษาอังกฤษ
                1.1.4 นามนับได้ กับ นามนับไม่ได้ ในภาษาอังกฤษ นามนับได้ และนามนับไม่ได้ ความแตกต่างดังกล่าวนี้แสดงโดยการใช้ตัวกำหนด a/an กับนามนับได้ที่เป็นเอกพจน์ และเติม - s ที่นามนับได้พหุพจน์ ส่วนนามนับไม่ได้ต้องไม่ใช้ a/an และต้องไม่เติม - s ในภาษาไทย คำนามทุกคำนับได้ เพราะมีลักษณนามบอกจำนวนของทุกสิ่งได้ และสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับคำนามต่างๆได้
                 1.1.5 ความชี้เฉพาะ (definiteness) เป็นประเภททางไวยากรณ์อีกประเภทที่มีความสำคัญในภาษาอังกฤษแต่ไม่มีความสำคัญในภาษาไทย ได้แก่ การแยกความแตกต่างระหว่างนามชี้เฉพาะกับนามไม่ชี้เฉพาะ  a/an ซึ้งบ่งความไม่ชี้เฉพาะ (indefiniteness) และ the ซึ้งบ่งความชี้เฉพาะ(definiteness) ในการแปลต้องระวังเรื่องนี้เป็นพิเศษ  
1.2       คำกริยา  คำกริยานับได้ว่าเป็นหัวใจของประโยค การใช้กริยาซับซ้อนกว่าคำนาม มีประเภททางไวยากรณ์มาเกี่ยวข้องหลายประเภทดังนี้
           1.2.1 กาล (tense) คำกริยาในภาษาอังกฤษต้องแสดงกาลเสมอว่าเป็นอดีตหรือไม่ใช่อดีต ผู้พูดภาษาอังกฤษไม่สามารถใช้คำกริยาโดยปราศจากการบ่งชี้กาล                                                                                                                               
              1.2.2 การณ์ลักษณะ (aspect)    การณ์ลักษณะ หมายถึงลักษณะของการกระทำหรือเหตุการณ์ ในภาษาอังกฤษ การณ์ลักษณะที่สำคัญได้แก่ การณ์ลักษณะต่อเนื่อง หรือ การณ์ลักษณะดำเนินอยู่ ในภาษาไทยมีการณ์ลักษณะทำนองนี้เช่นกัน    
         โดยเหตุที่ภาษาไทยกับภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างเด่นชัด ในภาษาอังกฤษถือว่า เรื่องเวลาของเหตุการณ์เป็นสิ่งที่สำคัญมาก แต่ในภาษาไทยถือว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้นเมื่อใดไม่เป็นสิ่งสำคัญ เพราะผู้พูดไม่เน้นเรื่องเวลาของเหตุการณ์ การกล่าวหรือเล่าเรื่องใดก็ตามเวลาเป็นเรื่องลอยตัว ไม่ต้องระบุให้ชัดเจน
             1.2.3 มาลา (mood) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่ใช้กับคำกริยา มีหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์หรือเรื่องที่พูดอย่างไร ในภาษาไทยคำกริยาไม่มีการแสดงมาลาแต่ในภาษาอังกฤษมีมาลาในภาษาอังกฤษแสดงโดยการเปลี่ยนรูปคำกริยา หรืออาจแสดงโดยคำช่วยกริยาที่เรียกว่า modal auxiliaries    ในภาษาไทย มาลาแสดงโดยกริยาช่วยหรือวิเศษณ์เท่านั้น ไม่ได้แสดงโดยการเปลี่ยนรูปกริยาคำที่แสดงมาลาในภาษาไทย
                1.2.4 วาจก (voice) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำที่แสดงโดยคำกริยาว่าประธานเป็นผู้กระทำหรือประธานเป็นผู้ถูกกระทำ
          
   1.2.5กรริยาแท้กับกริยาไม่แท้ (finite vs. non-finite)
           คำกริยาในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยมากในเรื่องการแยกกริยาแท้ออกจากกริยาไม่แท้ กล่าวคือในหนึ่งประโยคเดี่ยวจะมีกริยาแท้ได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น ในภาษาไทยไม่มีความแตกต่างระหว่างกริยาแท้กับกริยาไม่แท้
                  1.3 ชนิดของคำประเภทอื่น
            ชนิดของคำประเภทอื่นนอกจากคำนามกับกริยามีความซับซ้อนน้อยกว่าคำนามกับกริยา คำที่เป็นปัญหาในตัวศัพท์เองได้แก่คำบุพบท คำ adjective ในภาษาอังกฤษก็อาจเป็นปัญหาสำหรับคนไทย เนื่องจากภาษาไทยจะใช้คำกริยาทั้งหมด และการขยาย adjective นั้นจะมีการขายาที่ไม่เหมือนกัน
 2.หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
หน่วยสร้าง (construction) หมายถึงหน่วยทางภาษาที่มีโครงสร้าง ซึ่งจะมีดังต่อไปนี้
1.1      หน่วยสร้างนามวลี : ตัวกำหนด (determiner) + นาม (อังกฤษ) vs. นาม (ไทย)
         นามวลีในภาษาอังกฤษต้องมีตัวกำหนด (Determiner) อยู่หน้านามเสมอถ้าคำนามนั้นเป็นนามนับได้และเป็นเอกพจน์
1.2      หน่วยสร้างนามวลี : ส่วนขยาย+ส่วนหลัก (อังกฤษ) vs. ส่วนหลัก+ส่วนขยาย (ไทย)
        ในหน่วยสร้างนามวลี ภาษาอังกฤษวางส่วนขยายไว้ข้างหน้าส่วนหลัก ส่วนภาษาไทยตรงกันข้าม
1.3      หน่วยสร้างกรรมวาจก (passive constructions)
             ผู้แปลไม่จำเป็นต้องถ่ายทอดหน่วยสร้างกรรมวาจก ภาษาอังกฤษเป็นหน่วยสร้างกรรมวาจกภาษาไทยเสมอไป ในภาษาอังกฤษหน่วยสร้างกรรมวาจกมีรูปแบบเด่นชัดและมีแบบเดียว
1.4      หน่วยสร้างประโยคเน้น subject อังกฤษ กับประโยคเน้น topic ไทย
           ภาษาไทยได้ชื่อว่าเป็นภาษาเน้น topic (topic- oriented language) ตรงข้ามกับภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาเน้น subject (subject- oriented language)
1.5      หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย (serial verb construction)
             หน่วยสร้างในภาษาไทยที่ไม่มีในภาษาอังกฤษและมักเป็นปัญหาในการแปลได้แก่ หน่วยสร้างกริยาเรียง ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยกริยาตั้งแต่สองคำขึ้น
                     3.สรุป
                   3.1 เรื่องชนิดของคำ (ปัญหาเกิดจากการที่ภาษาหนึ่งมีชนิดของคำบางประเภทแต่อีกภาษาไม่มี)
                   3.2 เรื่องประเภททางไวยากรณ์
                   3.3 เรื่องหน่วยสร้างหรือรูปประโยค

                                                                                



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น