วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล

บทที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล
       ความสำคัญของการแปล
     ในปัจจุบันมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อสารเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นภาษาที่ใช้ในการเดินทาง การอธิบายความหมาย และเพื่อการโต้ตอบระหว่างมนุษย์ทั่วโลก การแปลจึงมีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากประเทศไทยมีการติดต่อกับต่างประเทศในวงการต่างๆมากขึ้น งานแปลสามารถยึดเป็นอาชีพได้ และเป็นอาชีพที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นการช่วยเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ตนเองและประเทศได้
     ประเทศไทยได้มีการติดต่อกับนานาประเทศมากขึ้น โดยที่ประเทศต่างๆล้วนมีภาษาต่างกัน ทำให้ต้องมีการถ่ายทอดความจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษา เพื่อสามรถทำความเข้าใจกันได้ งานแปลจึงต้องมีลักษณะที่ละเอียดอ่อน และนักแปลต้องมีการฝึกฝน เพื่อให้มีประสบการณ์ และความรู้ทางวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพและกว้างขวาง


    การแปลในประเทศไทย
     การแปลในประเทศไทยเริ่มตั้งแต่สมัยพระนารายณ์มหาราชส่งโกษาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยแห่งประเทศฝรั่งเศส จึงมีการฝึกนักแปลประจำราชสำนัก เพื่อแปลเอกสารต่างๆในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ          การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเริ่มมีบทบาทสำคัญในสังคมไทย ความต้องการด้านการแปลจึงมากขึ้นเป็นลำดับ มีการแปลเรื่องราวของประเทศไทยเป็นภาษาอังกฤษเพื่อนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นทุกปี จึงควรมีการแปลทุกอย่างหรือแปลมาเป็นภาษาไทยให้มากที่สุดในทุกๆด้าน แปลยังช่วยลดความไม่เข้าใจกันเนื่องจากมีวัฒนธรรมต่างกัน และสร้างความเข้าใจระหว่างนานาชาติ ทำให้เกิดสันติภาพโลก                                              
การแปลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้แปลจะต้องเป็นกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและมีนักภาษาด้วย เพื่อป้องกันภาษาวิบัติและการขาดความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรม ผู้แปลจะต้องติดตามวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตลอดเวลา เพื่อพัฒนาภาษาให้ดีและเหมาะสมกับเรื่อง ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงการใช้เวลาให้คุ้มในการแปล
   
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย
              การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย เป็นการสอนไวยากรณ์ และโครงสร้างของภาษา การใช้ภาษา รวมทั้งการอ่านเพื่อความเข้าใจ นักศึกษาจะได้รับการฝึกฝน และจะต้องทำความเข้าใจแล้วนำมาใช้ในวิชาแปลเพราะจะทำให้สามารถอ่านและเขียนภาษาอังกฤษได้ดี
การแปลคืออะไร
           การแปลคือการถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง โดยให้มีใจความครบถ้วนสมบูรณ์ตรงตามต้นฉบับทุกประการ การแปลเป็นสิ่งที่ฝึกฝนได้ในขอบเขตหนึ่ง คือส่วนที่เป็นความรู้ทางภาษา
คุณสมบัติของผู้แปล
1.             เป็นผู้รู้ภาษาอย่างดีเลิศ
2.             สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้เข้าใจ
3.             เป็นผู้ที่มีศิลปะในการใช้ภาษา มีความเข้าใจและซาบซึ้งในความสวยงามของภาษา
4.             เป็นผู้เรียนวิชาภาษาและวรรณคดี หรือภาษาศาสตร์
5.             ผู้แปลจะต้องรอบรู้ รักเรียน รักอ่าน และรักการค้นคว้าวิจัย
6.             ผู้แปลต้องมีความอดทนเสียสละ
จุดมุ่งหมายของผู้สอนแปลคือ สอนฝึกและผลิตนักแปลที่มีคุณภาพแก่สังคม
วัตถุประสงค์ของการแปล
1.             เป้าหมายที่สำคัญของการสอนแปลคือ การฝึกเพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพ
2.             การสอนแปลให้ได้ผล เกี่ยวเนื่องกับ 2 ทักษะคือ ทักษะในการอ่านและการเขียน
3.             ผู้สอนแปลต้องหาทางเร่งเร้าให้ผู้เรียนได้อ่านอย่างกว้างขวาง
4.             ให้ผู้เรียนแปลได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดกับนักแปลอาชีพ
บทบาทของการแปล
    การแปลเป็นทักษะที่พิเศษในการสื่อสาร คือผู้รับสาร ไม่ได้รับสารคนแรกโดยตรง แต่จะรับสารจากผู้แปลอีกทอดหนึ่ง ในการสื่อสารแบบนี้ผู้แปลเป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารขบวนการสื่อสารนี้จึงเป็นเรื่องพิเศษ
ลักษณะของงานแปลที่ดี
     ลักษณะของงานแปลที่ดีควรจะมีเนื้อหาข้อเท็จจริงตรงตามต้นฉบับใช้ภาษาทีชัดเจนกระชับความและมีการปรับแต่งถ้อยคำสำนวนให้เข้ากับสภาพสังคม
ลักษณะงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ดี
1.             ภาษาไทยที่ใช้ในงานแปลนั้นมีลักษณะเป็นธรรมชาติ
2.             สามารถนำต้นฉบับภาษาอังกฤษมาเทียบเคียงกับคำแปลภาษาไทยได้
3.             ใช้การแปลแบบตีความ แปลแบบเก็บความเรียบเรียงและเขียนใหม่
การให้ความหมายในการแปล
การส่งสารโดยวิธีการแปลเป็นภาษาแม่ของตน การให้ความหมายมี 2 ประการคือ
1.             การแปลที่ใช้ประโยคต่างกันแต่มีความหมายอย่างเดียวกัน
2.             การตีความหมายจากปริบทข้อความต่างๆ อาจดูจาก สิ่งของ รูปภาพ สถานภาพต่างๆ
การแปลกับการตีความจากปริบท
    ความใกล้เคียง ( Context ) และความคิดรวบยอด ( Concept ) ไม่ใช่แปลแบบให้ความหมายเดียวกันในรูปประโยคที่ต่างกัน ( paraphrasing ) แต่ให้ดูสภาพที่เป็นอยู่ของข้อความ จึงต้องทำให้นามธรรมนั้นออกมาเป็นความคิดรวบยอดและสามารถสรุปความหมายออกมาได้
การวิเคราะห์ความหมาย
1.              องค์ประกอบของความหมาย
-                   คำศัพท์ คือคำที่ยอมรับกันของผู้ใช้ภาษา จะมีคำศัพท์จำนวนมากในการสื่อความหมาย
-                   ไวยากรณ์ แบบแผนการจัดเรียงคำในภาษา
-                   เสียง ในภาษาจะมีเสียงจำนวนมากซึ่งเป็นเสียงที่มีความหมาย
2.              ความหมายและรูปแบบ
-                   ในแต่ละภาษา ความหมายหนึ่งอาจแสดงออกได้หลายรูปแบบ
-                   รูปแบบเดียวอาจจะมีหลายความหมาย รูปแบบแต่ละรูปแบบนั้นไม่แน่นอนเสมอไป

3.              ประเภทของความหมาย
-                   ความหมายอ้างอิง หรือความหมายโดยตรง คือความหมายที่กล่าวอ้างโดยตรงถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
-                   ความหมายแปล คือ ความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่าน ผู้ฟัง อาจจะเป็นทางบวกหรือลบ
-                   ความหมายตามปริบท รูปแบบหนึ่งๆของภาษาอาจมีหลายความหมาย
-                   ความหมายเชิงอุปมา เกิดจากการเปรียบเทียบทั้งการเปรียบเทียบโดยเปิดเผยและโดยนัย
         
           การแปลมีความมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดความหมายที่แท้จริงของต้นฉบับแต่เนื่องจากรูปแบบเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละภาษา มีระบบคำศัพท์ และมีโครงสร้างทางไวยากรณ์ของต้นเองการถ่ายทอดความหมายจะต้องแปลอย่างถูกต้อง
การเลือกบทแปล
       เลือกบทแปลตามวัตถุประสงค์ของการสอนแปล โดยคำนึงถึงให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตระหนักถึงความบกพร่องต่างๆของตนในการแปลและให้ผู้เรียนได้รู้ทั้งด้านทักษะทางภาษาและเนื้อหาไปด้วย
เรื่องที่จะแปล


          เรื่องที่จะเลือกมาแปลมีหลายสาขา จะต้องเลือกว่าจะแปลสาขาใดซึ่งจะทำให้คนมีความรู้ทันสมัย จึงควรมีคณะกรรมการการแปลระดับชาติเป็นแกน  การแปลจึงควรเลือกหนังสือที่เป็นหลักวิชาที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น