วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Learning Log 1

Learning Log 1
(ในห้องเรียนและนอกห้องเรียน)
            จากการที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียนสามารถสรุปได้ 2 ประเด็นคือ ประเด็นที่หนึ่งความรู้เกี่ยวกับ I + 1 Comprehensible input จากโครงสร้างสรุปได้ว่า I = ตัวนักเรียน (ประสบการณ์เดิม/การนำไปใช้) 1=ครู(ความรู้ที่ครูต้องให้กับนักเรียน) comprehensible input = ความเข้าใจในสิ่งที่จะป้อนเข้าไป ซึ่งจะอธิบายได้ว่า นักเรียนจะเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ได้ก็ต่อเมื่อครูให้ภาษาที่ยากกว่าความรู้เดิมของนักเรียน ซึ่งครูจะต้องเลือกข้อมูลและระดับของนักเรียนให้ถูกต้องและเหมาะสม เมื่อครูทราบระระดับของนักเรียนแล้วความรู้ที่ครูจะให้กับนักเรียนนั้นก็ต้องเริ่มจากหนึ่ง เพราะการเรียนรู้จะเกิดได้แค่หนึ่งเท่านั้น และครูต้องให้นักเรียนเกิดช่องว่างในการเรียนรู้ให้น้อยที่สุดเมื่อนักเรียนเกิดการเรียนรู้แล้วผลลัพธ์ที่ได้ก็มาจากทั้งครูและนักเรียน                                                                                                                                                                     
       ประเด็นที่สอง ความรู้เกี่ยวกับกาล (Tense) คำกริยาในประโยคภาษาอังกฤษจะบอกการกระทำให้ทราบว่าเกิดขึ้นเมื่อไร เกิดขึ้นแล้วหรือจะเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นแล้วในอดีตและยังคงดำเนินอยู่ในปัจจุบัน คำกริยาในภาษาไทยไม่บอกกาลในบางกรณีอาจดูเวลาของการกระทำได้จากคำกริยา ประโยคภาษาอังกฤษที่ใช้กาลต่างกัน อาจแปลเป็นภาษาไทยเหมือนกันคล้ายกับว่าไม่มีข้อแตกต่างกันเลย

ตัวอย่างเช่น 1.He lived in Nakhon Si Thammarat for a year. (Past simple)                                    
   เขาเคยอยู่ในนครศรีธรรมราชหนึ่งปี
2. He has lived in Nakhon Si Thammarat for ayear. (Present perfect)
   เขาอยู่นครศรีธรรมราชมาหนึ่งปีแล้ว
3. oranges grow in warm climate. (Present simple)
    ส้มเจริญเติบโตในสภาพที่อบอุ่น
4. We had never been in London until last summer. (Past perfect)
    เราไม่เคยไปลอนดอนมาก่อนจนกระทั้งฤดูร้อนที่แล้ว
5. My friend is travelling in Japan. (Present continuous)
   เพื่อนฉันกำลังท่องเที่ยวอยู่ในญี่ปุ่น
6. He was trying to start the car when the mechanic arrived. (Past continuous)
   เขากำลังพยายามติดเครื่องยนต์อยู่ตอนที่ช่างมาถึง
7. I had been sleeping for an hour when the alarm clock rang. (Past perfect continuous)
   ตอนที่นาฬิกาปลุกดังขึ้นฉันนอนหลับไปแล้วหนึ่งชั่วโมง
       ประเด็นที่หนึ่งแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาทำให้ดิฉันได้วิเคราะห์และหาความหมายซึ่งสามารถทำให้ดิฉันนำไปใช้ได้ถูกต้อง ส่วนประเด็นที่สอง กาล (Tense) ทำให้ดิฉันได้เข้าใจโครงสร้างของมันมากขึ้นและได้ทบทวนความรู้เกี่ยวกับ (Tense) เพื่อเป็นการฝึกทักษะด้านการแปลความหมายให้ถูกต้องและสวยงามตามหลักภาษา
      ในการศึกษานอกชั้นเรียนดิฉันได้อ่านหนังสือเรื่อง ฟัง พูด อ่าน เขียน อังกฤษ Step by step English ซึ่งดิฉันได้อ่านในหัวข้อเรื่องการกล่าวขอโทษเป็นภาษาอังกฤษ
ตัวอย่างการขอโทษเช่น I am sorry , Sorry , I apologize , Please forgive me. ถ้าเราต้องการจะเน้นเข้าไปอีกว่าเราขอโทษจริงๆ ขอโทษมากๆก็ให้เติมคำว่า I am + so/very/really/truly + sorry
ขอโทษสำหรับความผิดพลาดของตัวเอง การกล่าวขอโทษโดยบอกถึงสิ่งที่ตัวเองทำผิดพลาดไปด้วยนั้น จะมีอยู่สองรูปแบบด้วยกันคือ
·       การขอโทษแบบแรก ให้สังเกตว่าการขอโทษแบบที่หนึ่งจะใช้คำว่า For เข้ามาเชื่อมระหว่างคำขอโทษกับสิ่งที่เราทำผิด ซึ่งความผิดที่ว่าจะอยู่ในรูปของคำหรือกลุ่มคำ
I am so sorry + for + ( คำนามทั่วไปหรือคำกริยาเติม -ing )
    I am sorry for my mistake.  I am sorry for being late.
·         การขอโทษแบบที่สองจะใช้ that เป็นตัวเชื่อมคำขอโทษกับความผิดที่เราทำลงไปและความผิดที่อยู่หลัง that จะอยู่ในรูปของประโยคเท่านั้น
I am sorry + that + ประโยคที่บอกว่าเราทำอะไรผิด
  I am so sorry that I broke that glass. I am sorry that I did not listen to you.
         จากการเรียนนอกชั้นเรียนทำให้ดิฉันได้ทราบถึงประโยคการกล่าวขอโทษในภาษาอังกฤษจะมีสองแบบด้วยกันดิฉันสามารถนำมาใช้ได้ถูกต้องและเหมาะสมตามความผิดพลาดของตัวเองในสถานการณ์ต่างๆ
สรุปการเรียนรู้ในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนซึ่งในชั้นเรียนดิฉันได้รับความรู้สองประเด็นด้วยกันคือแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาและกาล(Tense)ซึ่งทำให้ดิฉันได้มีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับทั้งสองประเด็นนี้ ส่วนการเรียนรู้นอกชั้นเรียนดิฉันได้รับความรู้เกี่ยวกับการกล่าวขอโทษในภาษาอังกฤษจะมีสองแบบคือ การใช้ For กับ that เชื่อมในประโยคหรือคำกล่าวขอโทษ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น