วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log 5 นอกห้องเรียน


Learning Log 5
นอกห้องเรียน
                      การเรียนรู้นอกห้องเรียนครั้งนี้ ดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะการฟัง ดิฉันฝึกโดยใช้เทคนิคจากการเรียนรู้ครั้งนี้ หลายคนมักจะพูดว่า ทำอย่างไรให้ภาษาอังกฤษรู้เรื่องและพูดภาษาอังกฤษเก่งหรือ ทำอย่างไรจึงจะพูดภาษาอังกฤษได้คล่องหรือทำอย่างไรจึงจะพูดภาษาอังกฤษได้เก่ง คำพูดเหล่านี้มักจะเจอบ่อยสำหรับคนที่อยากจะพูดภาษาอังกฤษได้ดีทั้งที่เรียนภาษาอังกฤษมาแล้วมากมาย บางคนเรียนมากแล้วมากกว่า 10 ปี บางคนเรียนภาษาอังกฤษกับสถาบันสอนภาษาอังกฤษหลายสถาบัน แต่ยังไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ซักที บางคนสามารถอ่านภาษาอังกฤษได้ดีและเข้าใจได้ดี หรือบางคนทำคะแนนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษได้ดี แต่ไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้
                      สาเหตุที่ไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้คือ ทักษะการฟังภาษาอังกฤษกล่าวคือ เราต้องพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษก่อนและต้องฟังประโยคซ้ำๆ หลายๆรอบจนขึ้นใจ แล้วุดตามได้อย่างเข้าใจออกเสียงตามให้เหมือนที่สุด หรืออาจไม่เข้าใจความหมายหรือคำแปล หากเราลองนึกดูว่าภาษาไทยที่เราพูด อ่านและเขียนได้ในปัจจุบันนั้นมีพื้นฐานมาจากการฟังจนเข้าใจในสิ่งที่เราได้รับฟังมา แล้วเลียนเสียง พูดตามจนได้ หลังจากนั้นจึงเริ่มเรียนการเขียนแล้วจึงตามมาด้วยการอ่าน เช่นเดียวกันถ้าหากเราได้ฟังภาษาอังกฤษหลายๆรอบ บ่อยๆ ซ้ำๆ จนขึ้นใจแล้วเราจะพบว่าเราสามารถฟังภาษาอังกฤษรู้เรื่องและเข้าใจโดยอัตโนมัติ ยอกจากนั้นยังสามารถพูดภาษาอังกฤษได้อีกด้วย

                     การฟังภาษาอังกฤษถือว่าเป็นทักษะที่สำคัญที่สุดและพัฒนายากที่สุด ซึ่งเป็นปัญหาสำหรับคนไทยส่วนใหญ่ รวมถึงเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาทั้งหมดของการเรียนภาษาอังกฤษของคนไทย สำหรับการฝึกฟังภาษาอังกฤษให้ได้ผลนั้นมีเทคนิคดังนี้ 1.ฝึกฟังจากเทปสนทนาภาษาอังกฤษ เพลง ข่าว และภาพยนตร์ ซึ่งบทสนทนานั้นจะต้องพูด้วยความเร็วที่ปกติที่ชาวต่างชาติพูด อย่าฝึกฟังจากเสียงพูดที่ช้ากว่าปกติ เนื่องจากจะทำให้เราเคยชินกับการฟังภาษาอังกฤษแบบที่พูดช้าๆ และเมื่อเจอชาวต่างชาติที่พูดด้วยอัตราความเร็วที่ปกติเราก็ไม่เข้าใจเช่นเดิม 2.การฝึกฟังครั้งแรกๆควรเริ่มฟังครั้งละ 5-10 ประโยค อย่าฟังประโยคเยอะจนเกินไปจนไม่สามารถจะจำประโยคเหล่านั้นได้ 3.ขณะที่ฝึกฟังภาษาอังกฤษต้องมี script เสมอ 4.ในการฝึกฟังแต่ละครั้งต้องฟังให้ได้อย่างน้อย 4 รอบคือ รอบที่หนึ่ง ฟังพร้อม script และหากเห็นว่าคำใดที่เราเคยออกเสียงไม่เหมือนเขาหรือเราฟังไม่รู้เรื่องก็ให้เราหยุดเทปแล้วจดลงใน script ว่าเสียงที่เราได้ยินนั้นคืออะไร รอบที่สอง และรอบที่สาม ให้ฝึกออกเสียงตาม รอบที่สี่ ห้าและหก ให้ลองฟังแบบหลับตาโดยไม่มี script 5. ในช่วงแรกๆให้ฝึกประโยคเดิมๆด้วยวิธีข้างต้นสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ถ้าหากเราฝึกทุกวันได้ยิ่งเป็นผลดีกับตัวเราเองเพราะจะทำให้เราสามารถพัฒนาภาษาอังกฤษได้ดียิ่งขึ้นและเมื่อเรามีทักษะการฟังที่ดีแล้วก็สามารถทำให้เราพูดได้อย่างคล่องแคล่ว
                     จากการที่ดิฉันได้เรียนรู้เทคนิคและวิธีการฝึกฟังครั้งนี้ ดิฉันได้ฝึกทักษะการฟังของดิฉันโดยฟังบทสนทนาภาษาอังกฤษจากยูทูบ เรื่อง English Conversation ซึ่งเป็นเสียงชาวต่างชาติโดยตรง ดิฉันได้ฝึกฟังตามขั้นตอนการฝึกฟังภาษาอังกฤษข้างต้น เมื่อดิฉันได้เรียนรู้เทคนิคการฟังและปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าวแล้ว ทำให้ดิฉันมีหลักการและวิธีการฟังที่ถูกต้อง ซึ่งวิธีการฟังหรือเทคนิคการฟังภาษาอังกฤษนั้นมีหลายรูปแบบด้วยกันขึ้นอยู่กับว่าเราจะชอบหรือถนัดแบบไหน ส่วนตัวดิฉันเองก็จะพยายามหาเทคนิควิธีการแบบใหม่ๆไปเรื่อยๆ เพื่อที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆและสามารถพัฒนาการฟังภาษาอังกฤษได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
                     สำหรับการฝึกทักษะการฟังของดิฉันในครั้งนี้ยังสามารถฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษได้อีกด้วย เนื่องจากวิดีโอที่ดิฉันได้ฝึกฟังจากยูทูบนั้นจะมี script ให้เราสามารถอ่านตามได้ ซึ่งดิฉันก็สามารถฝึกอ่านได้ตามการออกเสียงของเจ้าของภาษาโดยตรง ทำให้ดิฉันได้ฝึกทักษะการอ่านที่ถูกต้องและได้ฝึกอ่านออกเสียงสำเนียงที่ชัดเจนเหมือนกับเจ้าของภาษา ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้ดิฉันได้มีพัฒนาการด้านการอ่านภาษาอังกฤษได้ดียิ่งขึ้น ในการฝึกทักษะครั้งนี้ดิฉันยังได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆมาขึ้นอีกด้วย เพื่อจะเป็นการต่อยอดการใช้ภาษาอังกฤษในทักษะต่างๆต่อไป
                     ดังนั้นการฝึกพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมากที่สุด ที่ต้องได้รับการพัฒนาก่อนเป็นอันดับแรก การฟังมากๆซ้ำๆ นอกจากจะทำให้ทักษะการฟังดีขึ้นแล้ว ยังทำให้สามารถพูดได้อย่างมีประสิทธิภาพและเมื่อเราพูดประโยคต่างๆจากการฟังออกมาได้แล้วจะทำให้เราพูดได้โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับไวยากรณ์ภาษาอังกฤษนั่นแปลว่าเราสามารถพูดภาษาอังกฤษได้โดยอัตโนมัติโดยไม่มีปัญหาเรื่องการกังวลในการพูดผิดไวยากรณ์




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น