วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

งานแปล เรื่องอภินิหารเข็มทิศทองคำ


                                                                  
                                                       อภินิหารเข็มทิศทองคำ
                                                         ตอนที่ 1   อ๊อกซ์ฟอร์ด
            
                 ไลราเดินผ่านห้องที่เต็มไปด้วยฝุ่นธุลีของวิทยาลัยจอร์แดนอย่างรวดเร็ว เธอมาถึงห้องนั่งเล่น บนโต๊ะเตรียมพร้อมแล้วสำหับนักวิชาการของจอร์แดน ที่ด้านท้ายของห้องนั้นมีนักวิชาการอยู่มันเป็นห้องพิเศษเรียกว่าห้องปลดเกษียน นักวิชาการไม่อนุญาตให้ไลราเข้าไปอยู่ในห้องนั้นและแน่นอนเธอต้องการที่จะเห็นมัน ภูตแพนทาไลมอนของเธอวิ่งตามหลังเธอและพูดอย่างเร็วๆว่า ไลรา! เธอเสียงดังเกินไปพวกเขาจะจับพวกเรา ไลราบอกภูตของเธอว่า ไม่มีใครได้ยินเสียงพวกเราไม่ต้องกังวล
                ไลราต้องการเข้าไปยังห้องปลดเกษียน แพนแปลงกายเป็นนกและบินตามหลังเธอไป พวกเขากำลังมองไปรอบๆ ทันใดนั้นพวกเขาก็ได้ยินเสียงผู้คนจากด้านนอก พวกเขารีบปีนเข้าไปในตู้ ชายคนหนึ่งเข้ามาพร้อมกับไวน์และแก้วบางส่วนและพวกเขาก็วางมันลงบนโต๊ะ ผู้เชี่ยวชาญของวิทยาลัยจอร์แดนและ ฟาร์ พาเวล ตามเขาไปยังในห้อง ฟาร์ พาเวลมาจากคณะปกครอง ซึ่งโลกของไลรานั้นถูกควบคุมโดยคณะปกครอง ผู้เชี่ยวชาญและพาเวลกำลังคุยเกี่ยวกับ ลอร์ด แอสเรียล และความคิดใหม่ของเขา คุณคืออธิการของจอร์แดน คุณจะต้องหยุดเขา พาเวลตะโกนขึ้น
                ผู้เชี่ยวชาญไม่ได้ตัดสินเช่นนั้น แอสเรียลเป็นผู้ชายที่สำคัญกับเรา เขาเป็นอธิการของจอร์แดน ผู้เชี่ยวชาญพูดเช่นนั้น ถ้าเขาต้องการที่จะไปเขาก็สามารถไปได้ ฟาร์ พาเวล ไม่มีความสุขกับคำตอบของผู้เชี่ยวชาญ เขารอผู้เชี่ยวชาญออกจากห้อง หลังจากนั้นเขาก็รีบใส่บางอย่างลงในไวน์ เขายิ้มเล็กน้อยและหลังจากนั้นเขาก็ออกจากห้องเช่นกัน เขาพยายามที่จะฆ่าลุงแอสเรียล ไลราพูด และแพนก็พูดว่า เธอว่าไม่เป็นเช่นนั้น พวกเราจะมีปัญหาถ้ามีคนมาพบพวกเราที่นี่

Learning Log 16 การอบรมภาคบ่าย 30/10/58


Learning Log 16
นอกห้องเรียน
                     การเรียนรู้นอกห้องเรียนนั้นดิฉันได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะในช่วงบ่ายของวันศุกร์ ที่30 ตุลาคม 2558 โดย ผศ.ดร. ศิตา เยี่ยมขันติถาวร ในหัวข้อเรื่องวิธีการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 และการทำกิจกรรมกลุ่มจำลองห้องเรียนและการจัดการเรียนการสอน ซึ่งจะเห็นได้ว่าครูแห่งอนาคตในศตวรรษที่ 21 นั้นครูจะต้องสนใจเทคโนโลยีต่างๆมีการปรับการเรียนการสอนอย่างบูรณาการ มีวัตกรรม ICT ที่มีคุณภาพทางด้านเทคโนโลยีมาใช้ระบบเรือข่ายสังคมออนไลน์ยุคใหม่มาสนับสนุนในการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีจัดการห้องเรียน ห้องสมุด การเรียนการสอนและสังคมสมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพสร้างความเท่าเทียมกันทางด้านการศึกษา ในส่วนของประเด็นที่ดิฉันได้เรียนรู้ในช่วงบ่ายของวันศุกร์นี้นั้นมีดังต่อไปนี้

Learning Log 15 การอบรมภาคเช้า 30/10/58


Learning Log 15
นอกห้องเรียน
                    การเรียนรู้นอกห้องเรียนในครั้งนี้ดิฉันได้รับความรู้จากการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ การเรียนรู้นี้จะเป็นการเรียนรู้ในช่วงเช้าของวันศุกร์ ที่ 30 ตุลาคม 2558 ซึ่งจะเป็นการบรรยายถึงวิธีการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 เป็นการบรรยายโดย        ผศ. ดร. ศิตา เยี่ยมขันติถาวร โดยครูในศตวรรษที่ 21 นั้นจะต้องสนใจในเทคโนโลยีต่างๆมีการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนอย่างบูรณาการมีวัตกรรม ICT ที่มีคุณสมบัติทางด้านเทคโนโลยีโดยใช้ระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ยุคใหม่มาสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยสารสนเทศรอบด้าน สำหรับการบรรยายในช่วงเช้านั้นจะเป็นการบรรยายถึงแนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นการปฏิสัมพันธ์ซึ่งจะมีวิธีการสอนแบบต่างๆดังนี้

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log 14 การอบรมภาคบ่าย 29/10/58


Learning Log 14
นอกห้องเรียน
                     การเรียนรู้นอกห้องเรียนครั้งนี้ ดิฉันได้เรียนรู้โดยการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ ซึ่งจะเป็นการเรียนรู้ในช่วงบ่ายของวันพฤหัสบดี ที่ 29 ตุลาคม 2558 โดยจะเป็นการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารและกิจกรรม โดย ผศ.ดร. ศิตา เยี่ยมขันติถาวร ในการสอนภาษาตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารนั้นเป็นการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้ ซึ่งมุ่งเน้นความสำคัญของผู้เรียนเป็นหลัก มีการจัดลำดับการเรียนรู้เป็นขั้นตอนตามกระบวนการใช้ความคิดของผู้เรียน โดยเริ่มจากการฟังไปสู่การอ่าน การจับใจความสำคัญ การทำความเข้าใจ การจดจำและนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ เนื้อหาและสิ่งที่ดิฉันได้เรียนรู้ในช่วงบ่ายนี้มีดังต่อไปนี้
                      ในการเรียนรู้ช่วงบ่ายนี้ดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสอนในศตวรรษที่ 21 และกลวิธีการเรียนการสอนในปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นแนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นกฎเกณฑ์ของภาษา ดิฉันได้เรียนรู้ในประเด็นต่อไปนี้ คือ ประเด็นแรก จะเป็นวิธีการสอนแบบไวยากรณ์และแปล จะเป็นการเน้นให้ผู้เรียนรู้กฎของไวยากรณ์และแปลประโยคหรือบทความจากภาษาแม่เป็นภาษาเป้าหมายหรือแปลจากภาษาเป้หมายเป็นภาษาแม่ได้ถูกต้อง และที่สำคัญเราต้องจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษให้ถูกต้องอีกด้วย ในบางครั้งเรามักจะเห็นคำศัพท์ภาษาอังกฤษในประเทศไทยที่ใช้ไม่ถูกต้องและนำไปสู่การแปลที่ผิดๆ เช่น Xerox เรามักจะใช้ว่า ถ่ายเอกสาร แต่คำที่ถูกต้องคือ photocopy และ mama คำที่ถูกต้องคือ instant noodles บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นต้น และสิ่งที่สำคัญของการแปลอีกอย่างหนึ่งก็คือ การจำสำนวนภาษาอังกฤษเพราะบางครั้งเราไม่รู้ว่ามันเป็นสำนวนเลยแปลคำศัพท์ที่ตรงตามตัวเลย ซึ่งไม่ถูกต้อง เช่น It’s  daylight  robbery. ถ้าแปลตรงตัวคือ นี่คือการปล้นตอนกลางวัน แต่ประโยคนี้เป็นสำนวนที่แปลว่า แพงสุดๆ เลย (เหมือนถูกปล้น)

Learning Log 13 การอบรมภาคเช้า 29/10/58


Learning Log 13
นอกห้องเรียน
                     การเรียนรู้นอกห้องเรียนในครั้งนี้ ดิฉันได้มีโอกาสเรียนรู้โดยการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะทั้ง 4 ด้าน คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่อาเซียนและการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ความรู้ในการอบรมครั้งนี้จะทำให้เป็นครูที่มีวิทยายุกต์ในการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและสามารถต่อยอดความรู้เดิมได้เป็นอย่างดีอีกด้วยเช่นกัน ในการเรียนภาษาอังกฤษให้ประสบความสำเร็จนั้น ส่วนหนึ่งก็ต้องมาจากความรู้ความสามารถทางภาษาที่มีประสิทธิภาพของครู และเมื่อครูมีประสิทธิภาพแล้วนั้น ก็จะสามารถถ่ายทอดความรู้ความสามารถเหล่านั้นให้แก่นักเรียนได้อย่างเต็มทีและนักเรียนก็จะเกิดการเรียนรู้และการพัฒนาความสามารถได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน
                    ในส่วนของการเรียนรู้ในช่วงเช้าของการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะในวันพฤหัสบดี ที่ 29 ตุลาคม 2558 นั้น ดิฉันได้เรียนรู้ในประเด็นต่อไปนี้ คือ การเสวนาวิชาการงานวิจัย ในหัวข้อ Beyond Language Learning และความรู้เชิงบูรณาการของครูภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 กับการเป็นสมาชิกอาเซียน ในการอบรมนั้นครูจะต้องเน้นให้นักเรียนคิดได้ ปฏิบัติเป็น ซึ่งในปัจจุบันการให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ตามความสามารถ ความถนัด ความสนใจนั้น ก็เป็นการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความชอบของตนเอง ซึ่งไม่มีความรู้สึกว่าถูกบังคับให้เรียน และในการเรียนรู้ด้วยตนเองนั้นครูจะต้องชี้แนะให้นักเรียนได้บูรณาการ การเรียนรู้ภาษาให้ได้ทั้ง 4 ทักษะเข้าด้วยกัน และเป็นความรู้ที่ยั่งยืนตลอดชีวิตสามารถนำไปใช้ได้จริง

Learning Log 12 นอกห้องเรียน


Learning Log 12
                                                                       นอกห้องเรียน
                    การเรียนรู้นอกห้องเรียนในครั้งนี้ดิฉันได้ศึกษาเกี่ยวกับคำแนะนำในการเรียนภาษาอังกฤษ และในการฝึกทักษะของดิฉันนั้น ดิฉันได้ฝึกทักษะทั้งหมด 4 ทักษะ นั่นก็คือ ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ซึ่งในโลกปัจจุบันนั้น ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญทั้งในชีวิตการเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน สำหรับคนไทยหลายๆ คน ภาษาอังกฤษเป็นเรื่องที่น่ากลัวและเรามักจะหลีกเลี่ยงการต้องพูดภาษาอังกฤษกับชาวต่างชาติหรือการพูดภาษาอังกฤษต่อหน้าคนอื่นๆ เพราะขาดความมั่นใจและทักษะ บางคนกังวลว่าสำเนียงไม่ดี แกรมมาไม่ได้ จึงทำให้ไม่กล้าที่จะฝึกพูด ดังนั้นดิฉันจึงได้ศึกษาข้อแนะนำในการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อเพิ่ม ความมั่นใจ ความกล้าที่จะสื่อสารภาษาอังกฤษให้ถูกต้อง สำหรับคำแนะนำดังกล่าวมีดังนี้

Learning Log 11 นอกห้องเรียน


Learning Log 11
นอกห้องเรียน
                     ในการเรียนภาษาอังกฤษหลายคนมักจะบอกว่าเรียนภาษาอังกฤษให้ได้ผลนั้นต้องฟัง พูด อ่าน เขียนได้หรือสื่อสารกับชาวต่างชาติได้แค่นั้นก็พอ แกรมม่าหรืออะไรที่เรียนไปนั้น เพื่อการท่องสอบไม่ต้องไปกังวลไม่จำเป็น สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นก็ไม่ผิดแต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าจะใช้ภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพจริงๆ ทุกอย่างมันต้องไปด้วยกัน บางคนสำเนียงดีมากแต่พูดภาษาอังกฤษผิดหมด บางคนเก่งไวยากรณ์มากแต่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้เลย ในขณะที่บ้างคนใช้ภาษาอังกฤษได้ดีทุกด้าน ดังนั้นการใช้หรือการเรียนภาษาอังกฤษในทักษะต่างๆนั้น มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน  หรือในเรื่องอื่นๆ ได้แก่คำศัพท์ ไวยากรณ์ การอ่านออกเสียง หรือแม้แต่ในเรื่องของวัฒนธรรม เกมส์และปริศนาต่างๆ ซึ่งนับว่าเป็นวิถีทางหนึ่งที่จะช่วยให้การพัฒนาตนเองของผู้เรียนในการปฏิบัติจริงและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนภาษาอังกฤษได้ตามรูปแบบกิจกรรมที่มีอยู่หลากหลายได้ตามความสนใจและในครั้งนี้ดิฉันได้ศึกษาเทคนิคพัฒนาการเรียนภาษาอังกฤษ 3 พาร์ท นั่นก็คือ แกรมม่า คำศัพท์ และบทสนทนา

Learning Log 10 นอกห้องเรียน


Learning Log 10
นอกห้องเรียน
                      การเรียนรู้นอกห้องเรียนในครั้งนี้  ดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการแปลซึ่งได้ศึกษารูปแบบ/ชนิด/ประเภทของการแปล หลักการแปล กระบวนการ/ขั้นตอนการแปล และคุณสมบัติของนักแปลที่ดี ในส่วนของการฝึกทักษะของดิฉันนั้นดิฉันได้ฝึกทักษะการอ่านและการแปลที่ถูกต้อง ในการศึกษาเรื่องการแปลนอกห้องเรียนนี้ ทำให้ดิฉันสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้กับการเรียนในห้องเรียนในวิชาการแปลได้อย่างดี การแปลมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจำเป็นต้องถ่ายทอดข้อมูลมาเป็นอีกภาษาหนึ่ง ซึ่งภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่นำมาถ่ายทอดเป็นภาษาต่างๆมากที่สุดในโลกโดยเฉพาะการถ่ายทอดเป็นภาษาไทย   เพราะแหล่งความรู้สมัยใหม่มักเขียนเป็นภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษากลางการสื่อสารต่างๆล้วนให้ความสำคัญกับภาษาอังกฤษ ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องศึกษาเรื่องการแปลดังประเด็นต่อไปนี้

Learning Log 9 นอกห้องเรียน


Learning Log 9
นอกห้องเรียน
                      การเรียนรู้นอกห้องเรียนในครั้งนี้ดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้และการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษทั้ง 4 ด้าน คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ซึ่งในการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้านของดิฉันนี้ ดิฉันก็ได้ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เกี่ยวการเรียนรู้ในทักษะทั้ง 4 ด้านจะช่วยให้ดิฉันเข้าใจและมีพฤติกรรมในการฝึกฝนทักษะที่ถูกต้อง เพราะในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษซึ่งเป็นวิชาทักษะนั้น เราจะต้องใช้ความมานะพยายาม และความอดทน หลักการศึกษาวิชาภาษาอังกฤษให้ได้ผลนั้นไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว เพราะความสำเร็จในการเรียนวิชาภาษา ซึ่งเป็นวิชาทักษะนั้น อาศัยทั้งความเข้าใจและการฝึกฝนทบทวนบ่อย ๆ อยากทราบว่าตนเองยังมีพื้นฐานภาษาอังกฤษค่อนข้างน้อย ก็ควรที่จะเพิ่มพูนทักษะการใช้ภาษาอังกฤษให้มากขึ้น สำหรับการฝึกทักษะของดิฉันและการศึกษาพฤติกรรมในการเรียนรู้ทักษะทั้ง 4 ด้านมีดังต่อไปนี้

Learning Log 9 ในห้องเรียน


Learning Log 9
ในห้องเรียน
                      การเรียนรู้ในห้องเรียนครั้งนี้ ดิฉันได้เรียนรู้เรื่อง การละ adverb clause of time การเรียนรู้ในครั้งนี้เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเองโดยศึกษาจากใบงาน เรื่อง adverb clause of time ซึ่งจะเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ และร่วมกันสรุปภายในกลุ่ม หัวข้อหรือประเด็นที่ได้ศึกษามานั้นมีดังนี้ คือ การสรุปกฎของ adverb clause of time วิธีการลด adverb clause of time ตัวอย่างของ adverb clause of time เป็นอย่างไร adverb clause of time เป็นส่วนหนึ่งของ adverb clause ซึ่ง adverb clause นั้นก็คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่เหมือนคำกริยาวิเศษณ์ตัวหนึ่งที่ใช้ขยายกริยา หรือคุณศัพท์ในประโยคหลัก หรือใช้ขยายประโยคหลักเพียงแสดงถึงวัตถุประสงค์บางประการAdverb Clause จะตามหลังสันธานที่ใช้เชื่อม เพราะอนุประโยคที่ใช้ขยายใจความในประโยคหลัก

Learning Log 8 นอกห้องเรียน


Learning Log 8
นอกห้องเรียน
                   การเรียนรู้นอกห้องเรียนในครั้งนี้ดิฉันได้เรียนรู้เรื่อง ส่วน 3 ของ 3: สิ่งที่ควรทำในการเรียนภาษาอังกฤษ ซึ่งดิฉันได้ต่อยอดการเรียนรู้มาจากสัปดาห์ที่แล้วในหัวข้อเรื่อง ส่วน 1 ของ 3: การเพิ่มทักษะในการพูด และ ส่วน 2 ของ 3: การฝึกทักษะการฟัง เขียนและอ่านภาษาอังกฤษ การเรียนรู้ในครั้งนี้ก็เป็นหัวข้อสุดท้ายของวิธีการเรียนภาษาอังกฤษ การเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพนั้นต้องไม่จำกัดวงแคบอยู่แต่ในเฉพาะห้องเรียน  แต่การเรียนการสอนจะต้องเสริมด้วยการสร้างระบบและสิ่งแวดล้อมที่สามารถเปิดโอกาสให้ผู้เรียนฝึกฝนทักษะการใช้ภาษาต่างๆ เพิ่มเติมให้มากที่สุดตามความสนใจ ตามระดับความสามารถ และตามความต้องการของผู้เรียน ซึ่งเทคนิคต่างๆในการเรียนภาษาอังกฤษก็เป็นตัวช่วยที่ดีที่ทำให้เราได้เรียนรู้ได้เร็วยิ่งขึ้นและเมื่อเราทราบเทคนิคต่างๆแล้ว เราก็ควรทราบถึงสิ่งที่เราควรทำในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษดังประเด็นต่อไปนี้

Learning Log 8 ในห้องเรียน


Learning Log 8
ในห้องเรียน
                     การเรียนรู้ในห้องเรียนครั้งนี้ ดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง noun clause การใช้ noun clause อย่างถูกต้องถือเป็นเรื่องสำคัญมากโดยเฉพาะในส่วนของ writing และ speaking เพื่อให้ประโยค noun clause ได้ถูกสื่อสารได้ถูกต้องตามหลักการ สำหรับการเรียนรู้เรื่อง noun clause ในห้องเรียนครั้งนี้ ดิฉันได้เรียนรู้ถึง หน้าที่ของ noun clause ประเภท การวางตำแหน่ง และหลักการใช้ เมื่อได้เรียนรู้เรื่อง noun clause แล้วเราก็ควรทำความเข้าใจและศึกษาเรื่อง noun clause ให้ได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง เพราะ noun clause นั้นทำหน้าที่เสมือนเป็นคำนามในประโยคในชีวิตประจำวัน เราอาจได้ยินหรือใช้ noun clause โดยไม่รู้ตัวว่ากำลังใช้ noun clause อยู่เลย ดังนั้นเราควรศึกษา noun clause ให้ถูกต้องและเข้าใจหลักการใช้ในประเด็นดังต่อไปนี้

Learning Log 7 นอกห้องเรียน


Learning Log 7
นอกห้องเรียน
                       การเรียนรู้นอกห้องเรียนครั้งนี้ดิฉันได้เรียนรู้และได้พัฒนาทักษะด้านการฟังเขียนและอ่านภาษาอังกฤษ ซึ่งได้เรียนรู้ในหัวข้อ ส่วน 2 ของ 3 : การฝึกทักษะการฟัง เขียนและอ่านภาษาอังกฤษ โดยดิฉันได้ต่อยอดการเรียนรู้จากสัปดาห์ที่แล้วในหัวข้อ ส่วน 1 ของ 3 : การเพิ่มทักษะในการพูด ในการฝึกทักษะภาษาอังกฤษเหล่านี้ถือว่าจำเป็นอย่างยิ่งเพราะในปัจจุบันภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองที่สำคัญมากในประเทศไทยและยังเป็นภาษาสากลที่ใช้กับคนทั่วโลกการเรียนรู้ภาษาอังกฤษนั้นมีทั้งการเรียนการสอนในสถานศึกษาโดยผู้เรียนสามารถนำประสบการณ์ในห้องเรียนไปใช้ได้อีกทั้งยังมีการศึกษานอกห้องเรียนโดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียนในการฝึกฝนและการเรียนรู้ที่ดีนั้นจะต้องได้รับการฝึกทักษะทางภาษาทั้ง 4 ด้าน คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน เพื่อให้การใช้ภาษาเกิดประสิทธิภาพสูงสุด สำหรับการเรียนรู้ของดิฉันในครั้งนี้ ดิฉันได้ฝึกและเรียนรู้เทคนิคการฟัง เขียนและอ่านภาษาอังกฤษดังหัวข้อต่อไปนี้

Learning Log 7 ในห้องเรียน


Learning Log 7
ในห้องเรียน
                      การเรียนรู้ในห้องเรียนครั้งนี้ดิฉันได้เรียนรู้เรื่อง if-clause ประโยคเงื่อนไข ซึ่งได้เรียนรู้ถึงโครงสร้างและหลักการใช้ประโยค if-clause รวมถึงการสร้างประโยค if-clause ให้สมบูรณ์ว่าเป็นอย่างไรและมีองค์ประกอบอะไรบ้าง หลังจากที่ดิฉันได้เรียนในห้องเรียนแล้วนั้นก็ทำให้ดิฉันเข้าใจว่า conditional หรือที่คนไทยเรียกว่า if-clause นั้นมีประโยชน์ต่อบทสนทนาในภาษาอังกฤษมากมาย ซึ่งเราต้องเข้าใจโครงสร้างและสร้างประโยค if-clause ให้ถูกต้องเพื่อจะได้สื่อสารกันได้ถูกต้องตรงตามหลักการ และในการแปลประโยค if-clause ในภาษาไทยนั้นผู้แปลจะต้องวิเคราะห์ความหมายของประโยคให้ดีว่าเป็นเงื่อนไขแบบใด และเลือกรูปแบบภาษาอังกฤษให้เหมาะสม                                                                                      
                     สิ่งแรกที่เราจำเป็นต้องรู้ในการเรียนประโยค if-clause ก็คือความหมายของมัน สำหรับ if-clause หรือ conditional sentence นั่นคือ ประโยคที่มีข้อความแสดงเงื่อนไข (condition) หรือการสมมติซึ่งประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ประโยครวมกันและเชื่อมด้วย conjunction if ประโยคที่นำหน้าด้วย if จะแสดงเงื่อนไข เราเรียกว่า if-clause และประโยคที่แสดงผลเงื่อนไขนั้นเราเรียกว่า main clause เช่น If I have much money , I will buy a new car. และ I will buy a new car if I have much money. ถ้าฉันมีเงินเยอะฉันจะซื้อรถใหม่ จุดสังเกต ถ้าส่วนที่เป็น if clause ขึ้นต้นประโยคก่อน จะถูกเชื่อมด้วย comma (,) และตามด้วย main clause ถ้าส่วนที่เป็น main clause ขึ้นก่อนไม่ต้องมี comma ให้ตามด้วยส่วนที่เป็น if-clause ได้เลย

Learning Log 6 นอกห้องเรียน


Learning Log 6
นอกห้องเรียน
                     การเรียนรู้ในห้องเรียนครั้งนี้ดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับ วิธีการเรียนภาษาอังกฤษที่ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ การเพิ่มทักษะการพูด การฝึกทักษะการเขียนและอ่านภาษาอังกฤษ สิ่งที่ควรทำในภาษาอังกฤษเนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่เหมาะสมอย่างมากในการเรียนไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางธุรกิจ การท่องเที่ยวหรือเหตุผลอื่นๆ แต่การเรียนภาษาอังกฤษนั้นต้องใช้ความขยัน ความตั้งใจและไม่เขินอายที่จะพูดหรือเขียนภาษาอังกฤษ แม้ว่าอาจจะผิดไวยากรณ์ไปบ้างนิดหน่อย ซึ่งในปัจจุบันภาษาอังกฤษเริ่มจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้นการที่เราสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้นั้น ย่อมทำให้เราได้เปรียบคนอื่นๆ สำหรับการเรียนรู้ในครั้งนี้ ดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับ ส่วน 1 ของ 3 จากวิธีการเรียนภาษาอังกฤษ นั่นก็คือทักษะการพูดซึ่งจะมีอยู่ 5วิธีด้วยกันดังนี้

Learning Log 6 ในห้องเรียน


Learning Log 6
ในห้องเรียน
                  การเรียนรู้ในห้องเรียนครั้งนี้ ดิฉันได้เรียนรู้ 2 ประเด็นด้วยกัน คือ เรื่อง adjective clause และการเปลี่ยนประโยค adjective clause เป็น adjective phrase โดยประเด็นแรกที่ได้เรียนในครั้งนี้คือ adjective clause ซึ่ง adjective clause คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนคุณศัพท์ขยายนามหรือแสดงลักษณะของคำนามหรือคำสรรพนาม ปกติแล้ว adjective Clause จะเชื่อมด้วยประพันธสรรพนาม ปกติแล้ว adjective Clause จะเชื่อมด้วยประพันธสรรพนาม โดยที่ประพันธสรรพนาม นั้นจะเชื่อมคุณานุประโยค ดังกล่าวกับคำนามหรือสรรพนามที่มันขยาย ประพันธสรรพนาม (Relative Pronouns ) เหล่านั้นได้แก่ that, which, where, when, why, who, whom ,whose, how, in which, of which, of whom เป็นต้น สำหรับการใช้คำประพันธสรรพนาม (Relative Pronouns) นั้น เป็นสรรพนามที่ใช้เชื่อมใจความสำคัญเข้าด้วยกันโดยใช้เชื่อม adjective Clause (คุณานุประโยค) ที่ทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์ขยายคำนามหรือคำสรรพนามที่วางอยู่ข้างหน้า

Learning Log 5 นอกห้องเรียน


Learning Log 5
นอกห้องเรียน
                      การเรียนรู้นอกห้องเรียนครั้งนี้ ดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะการฟัง ดิฉันฝึกโดยใช้เทคนิคจากการเรียนรู้ครั้งนี้ หลายคนมักจะพูดว่า ทำอย่างไรให้ภาษาอังกฤษรู้เรื่องและพูดภาษาอังกฤษเก่งหรือ ทำอย่างไรจึงจะพูดภาษาอังกฤษได้คล่องหรือทำอย่างไรจึงจะพูดภาษาอังกฤษได้เก่ง คำพูดเหล่านี้มักจะเจอบ่อยสำหรับคนที่อยากจะพูดภาษาอังกฤษได้ดีทั้งที่เรียนภาษาอังกฤษมาแล้วมากมาย บางคนเรียนมากแล้วมากกว่า 10 ปี บางคนเรียนภาษาอังกฤษกับสถาบันสอนภาษาอังกฤษหลายสถาบัน แต่ยังไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ซักที บางคนสามารถอ่านภาษาอังกฤษได้ดีและเข้าใจได้ดี หรือบางคนทำคะแนนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษได้ดี แต่ไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้
                      สาเหตุที่ไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้คือ ทักษะการฟังภาษาอังกฤษกล่าวคือ เราต้องพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษก่อนและต้องฟังประโยคซ้ำๆ หลายๆรอบจนขึ้นใจ แล้วุดตามได้อย่างเข้าใจออกเสียงตามให้เหมือนที่สุด หรืออาจไม่เข้าใจความหมายหรือคำแปล หากเราลองนึกดูว่าภาษาไทยที่เราพูด อ่านและเขียนได้ในปัจจุบันนั้นมีพื้นฐานมาจากการฟังจนเข้าใจในสิ่งที่เราได้รับฟังมา แล้วเลียนเสียง พูดตามจนได้ หลังจากนั้นจึงเริ่มเรียนการเขียนแล้วจึงตามมาด้วยการอ่าน เช่นเดียวกันถ้าหากเราได้ฟังภาษาอังกฤษหลายๆรอบ บ่อยๆ ซ้ำๆ จนขึ้นใจแล้วเราจะพบว่าเราสามารถฟังภาษาอังกฤษรู้เรื่องและเข้าใจโดยอัตโนมัติ ยอกจากนั้นยังสามารถพูดภาษาอังกฤษได้อีกด้วย

Learning Log 4 นอกห้องเรียน


Learning Log 4
นอกห้องเรียน
                   การเรียนรู้นอกห้องเรียนในครั้งนี้ดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการฝึกทักษะการอ่าน reading skill โดยทั่วไปผู้ที่ไม่ค่อยอ่านหนังสือภาษาต่างประเทศนั้น ต้องใช้ความอุสาหะและความพยายามเป็นอย่างมากในการทำความเข้าใจเนื้อเรื่องที่อ่าน นอกจากนี้เมื่ออ่านน้อยวิธีอ่านที่ใช้ก็มักด้อยประสิทธิภาพด้วยในทางตรงกันข้ามผู้ที่อ่านหนังสืออยู่เสมอจะมีพัฒนาการในการอ่านดีกว่า ตลอดจนสามารถใช้ทักษะและกลวิธีการอ่านอย่างมีประสิทธิภาพกว่า การอ่านเป็นประจำมีประโยชน์ต่อการฝึกทักษะและความคล่องแคล่วในการอ่าน รวมทั้งเกิดความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่าน ทั้งนี้เพราะการอ่านเป็นกิจกรรมที่ใช้ทักษะและความชำนาญ ดังนั้นการฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษจึงมีความสำคัญที่จะช่วยให้ผู้อ่านนำข้อมูลที่ได้ไปแก้ปัญหาต่างๆและความสำคัญอีกประการหนึ่งที่กล่าวในหัวข้อต่อไปก็คือ การเรียนรู้ทักษะการอ่านแบบต่างๆ ได้แก่ การอ่านแบบ skimming , scanning และ speed reading ซึ่งวิธีการอ่านเหล่านี้มีความจำเป็นต่อผู้อ่านที่จะช่วยให้ผู้อ่านเกิดการเรียนรู้และเลือกใช้ตามความเหมาะสม

Learning Log 4 ในห้องเรียน


                                                                      Learning Log 4
                                                                ในห้องเรียน
                     ประโยคในภาษาไทยและภาษาอังกฤษมีความใกล้เคียงกัน สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นเราควรศึกษาประโยค (sentences) หมายถึง กลุ่มคำหรือข้อความที่กล่าวออกมาแล้วมีใจความสมบูรณ์ ประโยคประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ ก็คือ ภาคประธานและภาคแสดง ภาคประธาน (subject) มีหลายรูปแบบเช่น เป็นคำนาม คำสรรพนาม อนุประโยค เป็น gerund phrase เป็น infinitive phrase ส่วนภาคแสดงนั้น (predicate) จะต้องประกอบด้วยคำกริยา และมีกรรมที่ร่วมเรียกว่า verb completion หรือส่วนขยายที่เรียกว่า verb modifiers สำหรับชนิดของประโยคนั้นแบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังนี้
                     ประเภทที่ 1 ประโยคความเดียว (simple sentence) คือประโยคที่มีอิสระ (independent clause) เพียงประโยคเดียวหรือกลุ่มคำหรือข้อความที่พูดออกไปแล้วมีใจความเดียว คือ มีประธานตัวเดียวและกริยาตัวเดียว เช่น My son does his exercise every day. The little boy often buy some toys. สำหรับ somple sentence นั้นยังแบ่งออกเป็นประโยคย่อยได้อีก 5 ประโยค ดังนี้         

Learning Log 3 นอกห้องเรียน


Learning Log 3
นอกห้องเรียน
                    การเรียนรู้ในห้องเรียนในครั้งนี้ดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้และการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษทั้งสี่ด้าน คือ ทักษะการฟัง  การพูด การอ่านและการเขียน ทักษะเหล่านี้มีความจำเป็นอย่างมากในการเรียนภาษาอังกฤษเนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลมมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน เพราะใช้เป็นภาษาสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศอย่างกว้างขวางและในอนาคตอันใกล้นี้ การเข้าร่วมเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียนของประเทศไทยจะทำให้ภาษาอังกฤษมีบทบาทมากยิ่งขึ้นแต่จากการสำรวจพบว่าทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียนและนักศึกษาส่วนใหญ่ในประเทศไทยในปัจจุบันนั้นยังมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำจึงจำเป็นต้องปรับปรุงและพัฒนาอย่างเร่งด่วน การหาวิธีการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของนักเรียน นักศึกษาไทยให้มีคุณภาพทัดเทียมกับชาติอื่นๆจึงเป็นซึ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้ดิฉันจึงเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษทั้ง 4 ด้านของตัวเองในการตั้งใจฝึกฝนการใช้ภาษาเพื่อพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Learning log 3 ในห้องเรียน


Learning Log 3
ในห้องเรียน
                   การเรียนรู้ในห้องเรียนครั้งนี้ดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับ ประเด็นที่สำคัญในการเรียนภาษอังกฤษ นั่นก็คือ เรื่อง tense เนื่องจากในปัจจุบันภาษาอังกฤษนับได้ว่าเป็นภาษาที่มีความสำคัญมาก ภาษาหนึ่งและเป็นภาษาหลักที่หลายประเทศใช้ในการติดต่อสื่อสาร สิ่งสำคัญพื้นฐานของภาษาอังกฤษ นอกจากจะมีคำศัพท์ที่จะต้องจดจำแล้ว ยังมีเรื่องของ tense ซึ่งเป็นไวยากรณ์พื้นฐานของภาษาอังกฤษ หากสามารถรู้และเข้าใจถึงโครงสร้างของ tense ก็จะทำให้สะดวกในการพูด การอ่าน และการเขียน ภาษาอังกฤษได้ดียิ่งขึ้น ซึ่ง tense นั้นคือ รูปแบบ โครงสร้าง ของกริยาที่แสดงให้เราทราบว่าการกระทำหรือเหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นเมื่อไร tense เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าใช้ tense ไม่ถูกต้องเราก็จะสื่อภาษากันไม่ได้ เพราะในประโยคภาษาอังกฤษนั้น จะอยู่ในรูปของ tense เสมอ ซึ่งต่างกับภาไทยที่จะมีข้อความบอกว่าเกิดขึ้นเมื่อไร มาช่วยเสมอ แต่ภาษาอังกฤษจะใช้รูป tense มาเป็นตัวบอก ดังนั้นการศึกษาเรื่อง tense จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง tense ในภาษาอังกฤษจะแบ่งออกเป็น 3 tense ใหญ่ๆ คือ Present Tense ปัจจุบัน , Past Tense อดีตกาล , Future Tense อนาคตกาล ซึ่งในแต่ละ tense ยังแยกย่อยได้ tense ละ 4 แบบ คือ Simple tense , Continuous tense , Perfect tense และ Perfect continuous tense  

Learning Log 1

Learning Log 1
(ในห้องเรียนและนอกห้องเรียน)
            จากการที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียนสามารถสรุปได้ 2 ประเด็นคือ ประเด็นที่หนึ่งความรู้เกี่ยวกับ I + 1 Comprehensible input จากโครงสร้างสรุปได้ว่า I = ตัวนักเรียน (ประสบการณ์เดิม/การนำไปใช้) 1=ครู(ความรู้ที่ครูต้องให้กับนักเรียน) comprehensible input = ความเข้าใจในสิ่งที่จะป้อนเข้าไป ซึ่งจะอธิบายได้ว่า นักเรียนจะเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ได้ก็ต่อเมื่อครูให้ภาษาที่ยากกว่าความรู้เดิมของนักเรียน ซึ่งครูจะต้องเลือกข้อมูลและระดับของนักเรียนให้ถูกต้องและเหมาะสม เมื่อครูทราบระระดับของนักเรียนแล้วความรู้ที่ครูจะให้กับนักเรียนนั้นก็ต้องเริ่มจากหนึ่ง เพราะการเรียนรู้จะเกิดได้แค่หนึ่งเท่านั้น และครูต้องให้นักเรียนเกิดช่องว่างในการเรียนรู้ให้น้อยที่สุดเมื่อนักเรียนเกิดการเรียนรู้แล้วผลลัพธ์ที่ได้ก็มาจากทั้งครูและนักเรียน                                                                                                                                                                     
       ประเด็นที่สอง ความรู้เกี่ยวกับกาล (Tense) คำกริยาในประโยคภาษาอังกฤษจะบอกการกระทำให้ทราบว่าเกิดขึ้นเมื่อไร เกิดขึ้นแล้วหรือจะเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นแล้วในอดีตและยังคงดำเนินอยู่ในปัจจุบัน คำกริยาในภาษาไทยไม่บอกกาลในบางกรณีอาจดูเวลาของการกระทำได้จากคำกริยา ประโยคภาษาอังกฤษที่ใช้กาลต่างกัน อาจแปลเป็นภาษาไทยเหมือนกันคล้ายกับว่าไม่มีข้อแตกต่างกันเลย

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล

บทที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล
       ความสำคัญของการแปล
     ในปัจจุบันมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อสารเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นภาษาที่ใช้ในการเดินทาง การอธิบายความหมาย และเพื่อการโต้ตอบระหว่างมนุษย์ทั่วโลก การแปลจึงมีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากประเทศไทยมีการติดต่อกับต่างประเทศในวงการต่างๆมากขึ้น งานแปลสามารถยึดเป็นอาชีพได้ และเป็นอาชีพที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นการช่วยเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ตนเองและประเทศได้
     ประเทศไทยได้มีการติดต่อกับนานาประเทศมากขึ้น โดยที่ประเทศต่างๆล้วนมีภาษาต่างกัน ทำให้ต้องมีการถ่ายทอดความจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษา เพื่อสามรถทำความเข้าใจกันได้ งานแปลจึงต้องมีลักษณะที่ละเอียดอ่อน และนักแปลต้องมีการฝึกฝน เพื่อให้มีประสบการณ์ และความรู้ทางวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพและกว้างขวาง

ความแตกต่างทางโครงสร้าง ของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

ความแตกต่างทางโครงสร้าง
ของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล
    โครงสร้าง ( Structure ) เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา เราพูดเป็นประโยคที่มีใจความสมบูรณ์และสื่อสารกันรู้เรื่องเพราะเรารู้หรือเข้าใจโครงสร้างของภาษา ในการแปลผู้แปลคิดว่าศัพท์จะเป็นปัญหา แต่ปัญหาที่สำคัญและลึกซึ้งกว่านั้นคือ ปัญหาทางโครงสร้าง ถึงแม้ผู้แปลจะรู้คำศัพท์ในประโยคแต่หากไม่เข้าใจความสัมพันธ์ของศัพท์เหล่านั้นก็มีโอกาสล้มเหลวได้ เพราะอาจตีความผิดหรือถ่ายทอดเป็นภาษาเป้าหมายที่ผิดได้