วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log 13 การอบรมภาคเช้า 29/10/58


Learning Log 13
นอกห้องเรียน
                     การเรียนรู้นอกห้องเรียนในครั้งนี้ ดิฉันได้มีโอกาสเรียนรู้โดยการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะทั้ง 4 ด้าน คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่อาเซียนและการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ความรู้ในการอบรมครั้งนี้จะทำให้เป็นครูที่มีวิทยายุกต์ในการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและสามารถต่อยอดความรู้เดิมได้เป็นอย่างดีอีกด้วยเช่นกัน ในการเรียนภาษาอังกฤษให้ประสบความสำเร็จนั้น ส่วนหนึ่งก็ต้องมาจากความรู้ความสามารถทางภาษาที่มีประสิทธิภาพของครู และเมื่อครูมีประสิทธิภาพแล้วนั้น ก็จะสามารถถ่ายทอดความรู้ความสามารถเหล่านั้นให้แก่นักเรียนได้อย่างเต็มทีและนักเรียนก็จะเกิดการเรียนรู้และการพัฒนาความสามารถได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน
                    ในส่วนของการเรียนรู้ในช่วงเช้าของการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะในวันพฤหัสบดี ที่ 29 ตุลาคม 2558 นั้น ดิฉันได้เรียนรู้ในประเด็นต่อไปนี้ คือ การเสวนาวิชาการงานวิจัย ในหัวข้อ Beyond Language Learning และความรู้เชิงบูรณาการของครูภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 กับการเป็นสมาชิกอาเซียน ในการอบรมนั้นครูจะต้องเน้นให้นักเรียนคิดได้ ปฏิบัติเป็น ซึ่งในปัจจุบันการให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ตามความสามารถ ความถนัด ความสนใจนั้น ก็เป็นการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความชอบของตนเอง ซึ่งไม่มีความรู้สึกว่าถูกบังคับให้เรียน และในการเรียนรู้ด้วยตนเองนั้นครูจะต้องชี้แนะให้นักเรียนได้บูรณาการ การเรียนรู้ภาษาให้ได้ทั้ง 4 ทักษะเข้าด้วยกัน และเป็นความรู้ที่ยั่งยืนตลอดชีวิตสามารถนำไปใช้ได้จริง

                    สำหรับประเด็นแรกที่ได้เรียนรู้ในช่วงเช้าของการอบรมนั่นก็คือ การเสวนาวิชาการงานวิจัย ในหัวข้อ Beyond Language Learning เป็นการเสวนาวิชาการงานวิจัยระหว่าง ดร.สุจินต์ หนูแก้ว และ อาจารย์สุนทร บุญแก้ว โดยมี ผศ.ดร.ประการศิต สิทธิ์ธิติกุล เป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งความรู้ที่ได้รับนั้นมีดังนี้ วิชาทางภาษานั้นหากเรายังคิดอย่างเดียวคงจะสำเร็จไม่ได้ เพราะเป็นวิชาที่เราต้องเรียนรู้หลักเกณฑ์ ดังคำกล่าวที่ว่า สำเร็จเมื่อคิด เสร็จกิจเมื่อทำ ดังนั้นผู้เรียนภาษาจะต้องมีความสนใจใฝ่ถาม มีความจำที่ชัดเจน สามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง และที่สำคัญสามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความถูกต้อง จำเป็นต้องพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ซึ่งความรู้ความสามารถพื้นฐานที่ผู้เรียนต้องมาคือ การอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ ในส่วนของทักษะการคิดวิเคราะห์นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นทักษะขั้นสูงและจำเป็นต้องมีการฝึกฝนบ่อยๆ เพื่อที่สามารถแก้ปัญหาต่างๆได้และสามารถปฏิบัติได้จริงโดยผ่านกระบวนการคิดมาแล้วเป็นอย่างดี
                      สิ่งที่จำเป็นในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษอีกอย่างหนึ่งก็คือ การเรียนรู้วัฒนธรรมต่างๆทั่วโลก เพราะผู้เรียนภาษานั้นต้องมีความรู้รอบด้านโดยสามารถเข้าใจและเรียนรู้วัฒนธรรมต่างได้เป็นอย่างดี เพื่อจะทำให้โลกนั้นมาอยู่ร่วมกันได้ โดยสามารถถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆได้อย่างลึกซึ้งและถูกต้องและมีความรู้ความสามารถในการสื่อสารภาษาได้เป็นอย่างดี มีความสามารถด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร รู้เท่าทันสื่อและมีความชัดเจนในการตัดสินใจโดยผ่านการคิดวิเคราะห์เป็นอย่างดีแล้ว ในการเรียนภาษานั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูจะต้องให้ผู้เรียนเข้าใจว่าเรียนเพื่ออะไร เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้องตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน โดยจะต้องมีเป้าหมายหลักและเป้าหมายรอง ในส่วนของเป้าหมายรองนั้นผู้เรียนจะต้องเรียนรู้วัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษ
                      และอีกประเด็นที่ได้เรียนรู้ในช่วงเช้าคือ ความรู้เชิงบูรณาการของครูสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 กับการเป็นสมาชิกอาเซียน ทักษะที่เราจำเป็นต้องมีในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ก็คือ เราจำเป็นต้องมีทั้งหมด 7 c ด้วยกัน ดังนี้ 1.Critical thinking & problem solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา) 2. Creativity & innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม) 3. Cross-cultural understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
4. Collaboration, teamwork & leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
5. Communications, information & media literacy (ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
6. Computing & ICT literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
7.Career & learning skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้) การเรียนรู้ทั้ง 7 ทักษะนี้ จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เนื่องจากเป็นบูรณาการภาษาอังกฤษให้เข้ากับศตวรรษที่ 21 และเป็นการพาทุกคนเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนได้เป็นอย่างดี ให้มีความรู้ความสามารถอย่างมีประสิทธิภาพและคงทนตลอดชีวิต

                          จากการเรียนรู้ในช่วงเช้าของการอบรมเชิงปฏิบัติการ เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะครั้งนี้ ดิฉันได้เรียนรู้สองประเด็นด้วยกันคือ การเสวนาวิชาการงานวิจัยหัวข้อ Beyond Language Learning และความรู้เชิงบูรณาการของครูภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 กับการเป็นสมาชิกอาเซียน ซึ่งสิ่งที่เราต้องรู้นั้นมี 7 c. ทักษะด้วยกัน และความรู้ในการอบรมนั้นทำให้ดิฉันได้รู้ถึงแนวทางหรือเทคนิคในการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะทั้ง 4 ด้าน คือ การฟัง การพูด การอ่านและการเขียน เข้าด้วยกัน เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่อาเซียนและการศึกษาในศตวรรษที่ 21 เทคนิคการสอนแบบบูรณาการนี้จะทำให้ครูมีศักยภาพในการสอนมากยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีประโยชน์เป็นอย่างมากกับตัวดิฉันเองที่จะต้องรู้และเข้าใจในการประกอบอาชีพครูในอนาคตภายภาคหน้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น