วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log 7 ในห้องเรียน


Learning Log 7
ในห้องเรียน
                      การเรียนรู้ในห้องเรียนครั้งนี้ดิฉันได้เรียนรู้เรื่อง if-clause ประโยคเงื่อนไข ซึ่งได้เรียนรู้ถึงโครงสร้างและหลักการใช้ประโยค if-clause รวมถึงการสร้างประโยค if-clause ให้สมบูรณ์ว่าเป็นอย่างไรและมีองค์ประกอบอะไรบ้าง หลังจากที่ดิฉันได้เรียนในห้องเรียนแล้วนั้นก็ทำให้ดิฉันเข้าใจว่า conditional หรือที่คนไทยเรียกว่า if-clause นั้นมีประโยชน์ต่อบทสนทนาในภาษาอังกฤษมากมาย ซึ่งเราต้องเข้าใจโครงสร้างและสร้างประโยค if-clause ให้ถูกต้องเพื่อจะได้สื่อสารกันได้ถูกต้องตรงตามหลักการ และในการแปลประโยค if-clause ในภาษาไทยนั้นผู้แปลจะต้องวิเคราะห์ความหมายของประโยคให้ดีว่าเป็นเงื่อนไขแบบใด และเลือกรูปแบบภาษาอังกฤษให้เหมาะสม                                                                                      
                     สิ่งแรกที่เราจำเป็นต้องรู้ในการเรียนประโยค if-clause ก็คือความหมายของมัน สำหรับ if-clause หรือ conditional sentence นั่นคือ ประโยคที่มีข้อความแสดงเงื่อนไข (condition) หรือการสมมติซึ่งประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ประโยครวมกันและเชื่อมด้วย conjunction if ประโยคที่นำหน้าด้วย if จะแสดงเงื่อนไข เราเรียกว่า if-clause และประโยคที่แสดงผลเงื่อนไขนั้นเราเรียกว่า main clause เช่น If I have much money , I will buy a new car. และ I will buy a new car if I have much money. ถ้าฉันมีเงินเยอะฉันจะซื้อรถใหม่ จุดสังเกต ถ้าส่วนที่เป็น if clause ขึ้นต้นประโยคก่อน จะถูกเชื่อมด้วย comma (,) และตามด้วย main clause ถ้าส่วนที่เป็น main clause ขึ้นก่อนไม่ต้องมี comma ให้ตามด้วยส่วนที่เป็น if-clause ได้เลย

                    และสิ่งต่อมาที่เราต้องเรียนรู้เกี่ยวกับ if-clause ก็คือ ประเภทซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้ ประโยค if-clause แบบที่ 1 คือ Present Possible ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นจริงตามธรรมชาติ เป็นความจริง เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน เป็นประโยคเงื่อนไขที่อาจจะเป็นไปได้ในปัจจุบัน เวลาพูด If-clause แบบที่ 1 นี้ ส่วนใหญ่โอกาสจะเป็นไปได้สูง  เงื่อนไขเวลาคือปัจจุบันดังนั้น tense ที่จะมาเกี่ยวข้องก็หนีไม่พ้น  present simple tenเพราะมันเป็น tense ที่บอกข้อเท็จจริง   present simple จะไปใช้ในประโยคที่มี if หรือประโยคเหตุ  ส่วนประโยคผลเราใช้ เป็น future simple โครงสร้างเป็น If + Present simple, Subject + will + V1 เช่น If I finish my work before 6 o’clock, I will pick you up. ถ้าฉันทำงานเสร็จก่อนหกโมงฉันจะไปรับ ในส่วนของประโยคที่มี if  อาจจะใช้ present tense อื่นๆก็ได้  เช่น present continuous ตามแต่สถานการณ์ เช่น        If you’re trying to be normal, you will never know how amazing you can be.     
                   ประโยค if-clause แบบที่ 2 คือ Present Unreal   ใช้กับการสมมุติในเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ในปัจจุบันใช้กับเหคุการณ์ที่ตรงข้ามความจริงในปัจจุบัน หรือ อนาคต พูดง่ายๆคือสิ่งที่เราสมมติหรือมโนขึ้นมาเอง  เช่น ถ้าฉันเป็นเธอ หรือ ถ้าฉันเป็นนก หรือ ถ้าฉันมีเงินพันล้านซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้ หรือเป็นไปได้ยากมากๆก็เข้าข่ายแบบที่ 2  นี้ ส่วน tense ที่จะใช้ใน If-clause แบบที่ 2 นี้ก็คือ past simple ที่ใช้ tense ที่เป็นอดีต  เพราะเหตุการณ์นี้เราพูดในปัจจุบันแทนที่จะเป็น present simple  แต่เป็นความจริงในปัจจุบันที่เป็นไปไม่ได้ก็เลยทำให้ความจริงผิดเพี้ยนไปจึงใช้ past simple แทน  เพื่อแสดงให้เห็นว่ามันคือสิ่งที่เพี้ยนไปจากความเป็นจริงนั่นเอง โครงสร้างของมันคือ If + past simple , Subject + would + V1 เช่น  If I had a private jet, I would go to Switzerland. ถ้าฉันมีเครื่องบินส่วนตัว ฉันจะสวิซเซอร์แลนด์                                    
                    ประโยค if-clause แบบที่ 3 คือ Past Unreal ใช้กับการสมมุติในเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ในอดีต โครงสร้างของมันคือ If + past perfect, Subject + would have + V3 เช่น  If you had eaten fat and carbohydrate less, you would have been thin. ถ้าคุณกินไขมัน และคาร์โบไฮเตรดน้อยหน่อย คุณคงจะผม การใช้ Unless มีความหมายว่า if…not (ถ้าไม่)   If I don’t study hard I won’t pass the exam.  Unless I study hard, I wouldn’t pass the exam. ถ้าฉันไม่เรียนให้หนัก ฉันคงสอบไม่ผ่าน เว้นแต่ว่า ฉันต้องเรียนให้หนัก ไม่อย่างนั้น ฉันคงสอบไม่ผ่าน If I didn’t have parents, I wouldn’t study in a university.  Unless I had parents, I wouldn’t study in a university. ถ้าฉันไม่มีผู้ปกครอง ฉันคงไม่เรียนในมหาวิทยาลัย เว้นแต่ว่าฉันมีผู้ปกครอง ไม่แล้ว ฉันคงจะไม่เรียนที่มหาวิทยาลัย
                       วิธีการจำว่า If-clause แต่ละแบบใช้ tense อะไรให้เรานึกถึงหลักความเป็นจริงคือ แบบที่ 1 เป็นไปได้ในปัจจุบันใช้ present simple ธรรมดา แต่แบบที่ 2 และ 3 เป็นเรื่องสมมติขึ้นมา ฉะนั้นเราจะถอย tense ไปหนึ่ง tense เพื่อแสดงว่ามันคือการสมมติ คือ แบบที่ 2 เป็นไปไม่ได้ในปัจจุบัน  จาก present เราเปลี่ยนเป็น past simple  และ แบบที่ เป็นไปไม่ได้ในอดีต จากคำว่า อดีตมันควรจะเป็น past simple เราก็ถอยไปเป็น past perfect แทน
                        จากการเรียนรู้ในห้องเรียนครั้งนี้ทำให้ดิฉันได้เข้าใจเรื่อง if clause ประโยคเงื่อนไข ได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งประโยคที่มีข้อความแสดงเงื่อนไข (conditions) หรือการสมมุติซึ่งประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ประโยครวมกัน และเชื่อมด้วย conjunction "if"ประโยคที่นำหน้าด้วย if แสดงเงื่อนไข เราเรียกว่า if-clauseและประโยคที่แสดงผลเงื่อนไขนั้น เราเรียกว่า main clause ส่วนประเภทของประโยค if clause นั้นจะมีด้วยกัน 3 ประเภท คือ Present Possible , Present Unreal และ Past Unreal การสร้างประโยค if clause นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องรู้และเข้าใจถึงโครงสร้างและรูปแบบการใช้ เพื่อที่เราสามารถสร้างประโยคได้ถูกต้องและสมบูรณ์ ซึ่งจะส่งผลให้เราสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                                                                              
                            



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น