วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log 15 การอบรมภาคเช้า 30/10/58


Learning Log 15
นอกห้องเรียน
                    การเรียนรู้นอกห้องเรียนในครั้งนี้ดิฉันได้รับความรู้จากการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ การเรียนรู้นี้จะเป็นการเรียนรู้ในช่วงเช้าของวันศุกร์ ที่ 30 ตุลาคม 2558 ซึ่งจะเป็นการบรรยายถึงวิธีการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 เป็นการบรรยายโดย        ผศ. ดร. ศิตา เยี่ยมขันติถาวร โดยครูในศตวรรษที่ 21 นั้นจะต้องสนใจในเทคโนโลยีต่างๆมีการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนอย่างบูรณาการมีวัตกรรม ICT ที่มีคุณสมบัติทางด้านเทคโนโลยีโดยใช้ระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ยุคใหม่มาสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยสารสนเทศรอบด้าน สำหรับการบรรยายในช่วงเช้านั้นจะเป็นการบรรยายถึงแนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นการปฏิสัมพันธ์ซึ่งจะมีวิธีการสอนแบบต่างๆดังนี้

                   วิธีสอนแบบแรกคือ วิธีสอนแบบชักชวน( Suggestopedia )เป็นวิธีการสอนที่นักจิตวิทยาชาวบัลกาเรียชื่อ จอร์จิ มีวิธีการสอนแบบชักชวนอิงแนวคิดที่ว่าสมองมนุษย์เต็มไปด้วยพลังแต่ถูกนำมาใช้เพียงเล็กน้อย ผู้สอนจึงควรโน้มน้าวให้ผู้เรียนได้ใช้พลังสมองของตนอย่างเต็มทีโดยขจัดความกลัว ความวิตกกังวลและข้อห้ามต่างๆ ควรให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยความสนุกสนานผ่อนคลายทางจิต มีกิจกรรมทางภาษาที่เน้นการสื่อสาร เน้นสภาพแวดล้อมที่เป็นจริงในการใช้ภาษาเช่น การแสดงละคร การฟังบทสนทนาโดยมีดนตรีประกอบ วิธีการสอนแบบชักชวนนี้ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้ถึงวิธีการชักชวนนักเรียนให้สนใจอยากที่จะเรียนรู้โดยผ่านกิจกรรมที่นักเรียนสามารถปฏิบัติได้จริง
                   วิธีการสอนแบบต่อมาคือ วิธีการสอนด้วยท่าทาง วิธีการสอนนี้ได้แนวคิดจากการวิจัยด้านจิตวิทยาพัฒนาการและทฤษฎีการเรียนรู้ พัฒนาโดยนักวิจัยชาวอเมริกันชื่อ เจมส์ แอชเชอร์ โดยเชื่อมโยงกับทฤษฎีของการจำในเชิงจิตวิทยา มีความเชื่อว่าบุคคลใดได้รับการฝึกฝนบ่อยๆอย่างต่อเนื่องก็จะเกิดการเก็บประสบการณ์ต่างๆและสามารถระลึกและถ่ายทอดออกมาได้ ซึ่งการจำนั้นเกิดจากการฝึกท่องจำหรือแสดงท่าทาง มุ่งพัฒนาความเข้าใจในการฟังในช่วงต้นของการเรียนรู้โดยการแสดงท่าทางจะใช้คำสั่งเป็นหลักในการสอน วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางนี้ ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้ว่าควรให้นักเรียนได้รับการฝึกฝนบ่อยๆอย่างต่อเนื่องเพื่อสามารถถ่ายทอดออกมาได้จากการท่องจำหรือแสดงท่าทาง
                    วิธีการสอบแบบถัดมาคือ วิธีสอนแบบเงียบ เป็นวิธีที่ กาเล็บ กเตนโยเป็นผู้เริ่มขึ้นโดยมีหลักการที่เน้นความรู้ ความเข้าใจเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้ผู้เรียนสามารถคิดเองได้ ผู้สอนจะพูดน้อยที่สุดและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พูด ผู้สอนเป็นเพียงผู้ช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิด ความเข้าใจที่จะค้นพบกฎเกณฑ์ทางภาษาด้วยตนเองและจากเพื่อนๆมากกว่าการจดจำ วิธีการสอนแบบนี้ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้ว่าการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พูดจากความรู้ความเข้าใจของผู้เรียน ส่วนครูผู้สอนนั้นเป็นเพียงผู้ที่ช่วยเหลือเท่านั้น
                     และวิธีการสอนแบบสุดท้ายคือ วิธีการสอนตามแนวธรรมชาติ เป็นวิธีของ เทรซี เทอร์เรลล์ และ สตีเฟน คราเชน ซึ่งได้พัฒนาตามแนวการสอนธรรมชาติเป็นแนวการสอนที่เลียนแบบการรับรู้ภาษาที่หนึ่งของเด็กเล็ก ซึ่งเป็นการรับรู้ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยไม่มีใครสอน ซึ่งพัฒนาทักษะทางภาษาเพื่อการสื่อสารกับเจ้าของภาษาโดยที่ยังคงให้ความสำคัญของความถูกต้องในการใช้ไวยากรณ์โดยใช้วิธีตรวจแก้ไขไปเรื่อยๆ ในระยะยาวผู้เรียนจะสามารถใช้ภาษาของการสื่อสารได้ วิธีการสอนแบบนนี้ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้ว่าการรับรู้ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาตินั้นเป็นการเรียนรู้จากความเข้าใจของตัวผู้เรียนเอง
                        ในหัวข้อต่อมาที่ดิฉันได้เรียนรู้ในช่วงเช้าของการอบรมคือ แนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นแนวปฏิสัมพันธ์ ซึ่งจะต่อเนื่องจากประเด็นข้างต้นนี้แต่ในประเด็นนี้จะเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบต่างๆ จะมีดังต่อไปนี้ 1. การเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นการสอนที่แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกันเพื่อให้ตนเองและสมาชิกในกลุ่มทุกคนประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้                         
            2. การเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน เป็นการจัดการสอนที่ใช้ภาระงานเป็นหลัก โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอน โดยภาระงานที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาในการปฏิบัติภาระงานนั้นให้สำเร็จและต้องกับความต้องการของผู้เรียนซึ่งมีสี่แบบคือ ภาระงานตามประสบการณ์ ภาระงานแบบ
             3. การเรียนรู้จากการทำโครงงาน คืองานศึกษาค้นคว้าที่ผู้เรียนทำร่วมกันเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นวิธีการสอนที่ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองซึ่งเป็นการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การทำโครงงานนั้นต้องเริ่มต้นจากผู้เรียนเป็นผู้คิด ลงมือปฏิบัติ หาทางแก้ปัญหาที่เกิดโดยมีผู้สอนคอยแนะนำกระตุ้น เช่น การจัดนิทรรศการ
            4. แนวการสอนภาษาแบบกำหนดสถานการณ์ เป็นการเน้นตัวผู้เรียนเป็นผู้สอนหรือผู้เรียนเลือกสถานการณ์ที่คิดว่าผู้เรียนจะต้องใช้และประสบกับภาษาจริงๆแล้วจึงเอาภาษาที่ใช้ในสถานการณ์นั้นมาจัดสอนตามวัตถุประสงค์ของผู้เรียนหรือบทเรียนเช่น ผู้เรียนที่เรียนภาษาเพื่อการท่องเที่ยวก็จะได้เรียนภาษาในสถานการณ์ที่จะพบเห็นในการท่องเที่ยว           
             5. แนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้ ซึ่งมุ่งเน้นความสำคัญของผู้เรียน จัดลำดับการเรียนรู้เป็นกระบวนการขั้นตอนตามกระบวนการใช้ความคิดของผู้เรียน โดยเริ่มจากการฟังไปสู่การพูด การอ่าน การจับใจความสำคัญ ทำความเข้าใจ จดจำแล้วนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ได้อย่างถูกต้องแล้วจึงนำความรู้ที่ได้ไปฝึกใช้ในสถานการณ์จริง
            6. การสอนที่เน้นสาระการเรียนรู้ เป็นการสอนภาษาที่นำเนื้อหาวิชาต่างๆมาบูรณาการกับจุดหมายของการสอนภาษาผู้เรียนใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนเรียนรู้และในขณะเดียวกันก็พัฒนาการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารไปด้วยกัน การคัดเลือกเนื้อหาที่นำมาให้ผู้เรียนได้เรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งเพราะเนื้อหาต้องมีการบูรณาการสอนภาษาทั้ง 4 ทักษะคือ การฟัง การพูด การอ่านและการเขียน
            7. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เป็นการเรียนซึ่งเปิดโอกาสให้ใช้วิธีการตั้งคำถามและกระบวนการแก้ไขปัญหา เป็นตัวนำกระบวนการแสวงหาความรู้และทักษะทางวิชาการ การเรียนรู้แบบบูรณาการเป็นการเชื่อมโยงความคิดรวบยอดจากวิชาและประสบการณ์ต่างๆเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถเชื่อมสิ่งที่เรียนเข้ากับชีวิตจริงและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองได้ จนเกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายมากขึ้น

                      จากาการเรียนรู้ในช่วงเช้าของการอบรมนี้ดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 ซึ่งดิฉันได้รู้ถึงแนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นการปฏิสัมพันธ์ จะมีวิธีการสอน 4 แบบ ด้วยกันคือ วิธีสอนแบบชักชวน วิธีสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง วิธีสอนแบบเงียบ และวิธีการสอนตามแนวธรรมชาติ อีกทั้งยังมีการเรียนรู้ทั้ง 7 แบบด้วยกันคือ การเรียนรู้แบบร่วมมือ การเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน การเรียนรู้จากโครงงาน แนวการสอนแบบกำหนดสถานการณ์ แนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร การสอนที่เน้นสาระการเรียนรู้ และการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการซึ่งการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นการปฏิสัมพันธ์เหล่านี้มีประโยชน์ต่อดิฉันเป็นอย่างมากที่จะทำความเข้าใจกับวิธีการสอนต่างๆให้ได้อย่างลึกซึ้ง เพื่อนำไปต่อยอดความรู้ความสามารถของการประกอบอาชีพครูในอนาคตและเป็นครูที่มรประสิทธิภาพสามารถถ่ายทอดความรู้ออกมาได้อย่างมีคุณภาพถูกต้องตามรูปแบบการสอนแบบบูรณาการซึ่งพร้อมที่จะเป็นครูในศตวรรษที่ 21

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น