วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log 14 การอบรมภาคบ่าย 29/10/58


Learning Log 14
นอกห้องเรียน
                     การเรียนรู้นอกห้องเรียนครั้งนี้ ดิฉันได้เรียนรู้โดยการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ ซึ่งจะเป็นการเรียนรู้ในช่วงบ่ายของวันพฤหัสบดี ที่ 29 ตุลาคม 2558 โดยจะเป็นการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารและกิจกรรม โดย ผศ.ดร. ศิตา เยี่ยมขันติถาวร ในการสอนภาษาตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารนั้นเป็นการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้ ซึ่งมุ่งเน้นความสำคัญของผู้เรียนเป็นหลัก มีการจัดลำดับการเรียนรู้เป็นขั้นตอนตามกระบวนการใช้ความคิดของผู้เรียน โดยเริ่มจากการฟังไปสู่การอ่าน การจับใจความสำคัญ การทำความเข้าใจ การจดจำและนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ เนื้อหาและสิ่งที่ดิฉันได้เรียนรู้ในช่วงบ่ายนี้มีดังต่อไปนี้
                      ในการเรียนรู้ช่วงบ่ายนี้ดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสอนในศตวรรษที่ 21 และกลวิธีการเรียนการสอนในปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นแนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นกฎเกณฑ์ของภาษา ดิฉันได้เรียนรู้ในประเด็นต่อไปนี้ คือ ประเด็นแรก จะเป็นวิธีการสอนแบบไวยากรณ์และแปล จะเป็นการเน้นให้ผู้เรียนรู้กฎของไวยากรณ์และแปลประโยคหรือบทความจากภาษาแม่เป็นภาษาเป้าหมายหรือแปลจากภาษาเป้หมายเป็นภาษาแม่ได้ถูกต้อง และที่สำคัญเราต้องจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษให้ถูกต้องอีกด้วย ในบางครั้งเรามักจะเห็นคำศัพท์ภาษาอังกฤษในประเทศไทยที่ใช้ไม่ถูกต้องและนำไปสู่การแปลที่ผิดๆ เช่น Xerox เรามักจะใช้ว่า ถ่ายเอกสาร แต่คำที่ถูกต้องคือ photocopy และ mama คำที่ถูกต้องคือ instant noodles บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นต้น และสิ่งที่สำคัญของการแปลอีกอย่างหนึ่งก็คือ การจำสำนวนภาษาอังกฤษเพราะบางครั้งเราไม่รู้ว่ามันเป็นสำนวนเลยแปลคำศัพท์ที่ตรงตามตัวเลย ซึ่งไม่ถูกต้อง เช่น It’s  daylight  robbery. ถ้าแปลตรงตัวคือ นี่คือการปล้นตอนกลางวัน แต่ประโยคนี้เป็นสำนวนที่แปลว่า แพงสุดๆ เลย (เหมือนถูกปล้น)

                       ประเด็นต่อมาของแนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นกฎเกณฑ์ของภาษาคือ วิธีสอนแบบตรงซึ่งจะเป็นการเรียนรู้แบบธรรมชาติ โดยให้การเรียนภาษาที่สองหรือภาษาเป้าหมายเกิดขึ้นเหมือนกับการเรียนภาษาแม่ ใช้ทักษะการพูดเป็นวิธีการสอน ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีการแปลซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนแปลงการสอนภาษาจากวิธีการสอนแบบเน้นไวยากรณ์ และการแปลการสอนวิธีนี้เน้นที่การฟังและพูดโดยเน้นการใช้สื่อของจริง ตัวอย่างเช่น การพูดคุยกันในห้องแชทของโซเซี่ยลเน็ตเวิล์ค เช่น A: Honey , your gandma has just died LoL. B:Mom ,Do you know what LOL means ? A: Yes it is ! B: Google it mom, google it. การเรียนรู้ด้วยการพูดคุยทางห้องแชทแบบนี้เป็นการเรียนรู้ที่ใกล้ตัวนักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองโดยตรงโดยจะไม่เน้นเรื่องไวยากรณ์และการแปลจะเน้นการพูดมากกว่า ซึ่งสื่อที่ใช้พูดนั้นเป็นของจริงเป็นเรื่องราวจริงที่ใช้สื่อสารได้จริง
                       ในประเด็นนี้ดิฉันได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษาอินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกันในโซเซี่ยลเน็ตเวิล์ค ในภาษาอินเตอร์เน็ตนั้นจะเป็นการสะกดคำในรูปแบบใหม่ที่ไม่ใช่การสะกดคำตามมาตรฐานเดิม เช่น ตัวสะกดบางตัวหายไปแต่ยังสามารถออกเสียงได้เหมือนเดิม มีการเชื่อมคำเข้าด้วยกัน สร้างอักษรใหม่ขึ้นที่รู้จักกันเฉพาะกลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นประจำ เช่น WTF it mean welcome to facebook. จะเกิดสัญลักษณ์ขึ้นใหม่ที่เรียกว่า Emotioncons จะใช้ตัวอักษร มีการใส่เครื่องหมายเป็นสัญลักษณ์เพื่อสื่อความหมายบางประการ มีการใส่คำแทนเสียงหรือเลียนเสียง เช่น หัวเราะ hahaha เสียงสงสัย huh? เสียงตกใจว่าทำอะไรผิด oops เป็นต้น มีการใช้ศัพท์เฉพาะในการใช้ศัพท์อินเตอร์เน็ตมีการสะกดผิด เช่น เบย สะกดผิดจากคำว่าเลย the จากคำว่า the เป็นต้น ถ้าใช้ตัวอักษรตัวใหญ่ทั้งหมดแปลว่าต้องการเน้นย้ำ หรือพวกตวาดเสียงดัง เช่น STOP IT ในการเรียนรู้ภาษาอินเตอร์เน็ตนั้นก็เพื่อที่จะให้เราเท่าทันสื่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและสามารถสื่อสารกันได้ตามสมัยที่พัฒนาอยู่เรื่อยๆ
                       สำหรับประเด็นสุดท้ายของแนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นกฎเกณฑ์ของภาษาคือ วิธีการสอนแบบฟัง พูด วิธีการสอนแบบฟัง พูดนั้นมีวัตถุประสงค์ที่จะนำลักษณะนิสัยการพูดภาษาแรกมาใช้ในการเรียนภาษาที่สอง ในประเทศไทยนั้นพบว่าเด็กไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้เนื่องจากทัศนคติของผู้เรียนต่อภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศอื่นๆยังไม่เกิดทัศนคติที่ดีที่ทำให้ผู้เรียนอยากเรียน โอกาสในการเรียนการสอนของครูและผู้เรียนในการฝึกนั้นยังไม่เพียงพอ ดังนั้นครูผู้สอนภาษาอังกฤษควรตระหนักและออกแบบบทเรียนเพื่อเอื้อให้ผู้เรียนสามารถนำภาษาอังกฤษไปใช้ได้จริงและผู้เรียนได้ฝึกจากสถานการณ์จริงซึ่งครูนั้นแค่พูดอย่างเดียวคงจะไม่พอ
                       ครูต้องให้ผู้เรียนเข้าใจในการสื่อสารมากกว่าการออกเสียงให้เหมือนเจ้าของภาษาแต่ความรู้เบื้องต้นทางสัทศาสตร์ ยังคงมีความสำคัญสำหรับผู้สอนเพราะผู้สอนสามารถช่วยแก้ไขการออกเสียงที่ผิดพลาดของผู้เรียนได้ เวลาอ่านออกเสียงท้ายครูก็จะต้องอ่านให้ชัดเจนด้วยต้องอ่านออกเสียงให้ถูกต้องตามหลักการออกเสียง ต้องรู้พยัญชนะและสระในภาษาอังกฤษว่าเป็นเสียงใดและอยู่ในตำแหน่งใด อีกทั้งครูยังต้องรู้การเน้นเสียงระดับคำ word stress และการเน้นเสียงระดับประโยค sentence stress ทำนองของเสียง Into nation และการหยุด pause สิ่งเหล่านี้เป็นการพัฒนาการฟังและการพูดของเด็กให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นจากการถ่ายทอดความรู้ความสามารถของครูที่มีประสิทธิภาพ
                        จากการเรียนรู้ในครั้งนี้ที่เกี่ยวกับ แนวการสอนที่เป็นกฎเกณฑ์ของภาษาซึ่งเป็นการเรียนรู้ในช่วงบ่ายนั้น ดิฉันได้เรียนรู้ในสามประเด็นของแนวการสอนที่เป็นกฎเกณฑ์ของภาษาคือ วิธีการสอนแบบไวยากรณ์และแปล วิธีการสอนแบบตรง และวิธีการสอนแบบฟัง พูด วิธีการสอนดังกล่าวนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งที่จะนำไปเป็นแนวทางในการสอนของดิฉันในการประกอบอาชีพครูในภายภาคหน้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งในการเรียนการสอนดังกล่าวนี้จะมุ่งเน้นความสำคัญของผู้เรียนโดยตรงซึ่งในการเรียนรู้นั้น ผู้เรียนต้องสามารถเข้าใจและจดจำสิ่งที่ได้เรียนรู้โดยสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงได้ และความรู้ความสามารถของครูนั้นต้องมีประสิทธิภาพและมีความรู้เกี่ยวกับภาษาอย่างลึกซึ้งและมีวิธีการสอนภาษาแบบบูรณาการสอนทั้ง 4 ด้าน คือ การฟัง การพูด การอ่านและการเขียน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น