วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log 4 ในห้องเรียน


                                                                      Learning Log 4
                                                                ในห้องเรียน
                     ประโยคในภาษาไทยและภาษาอังกฤษมีความใกล้เคียงกัน สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นเราควรศึกษาประโยค (sentences) หมายถึง กลุ่มคำหรือข้อความที่กล่าวออกมาแล้วมีใจความสมบูรณ์ ประโยคประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ ก็คือ ภาคประธานและภาคแสดง ภาคประธาน (subject) มีหลายรูปแบบเช่น เป็นคำนาม คำสรรพนาม อนุประโยค เป็น gerund phrase เป็น infinitive phrase ส่วนภาคแสดงนั้น (predicate) จะต้องประกอบด้วยคำกริยา และมีกรรมที่ร่วมเรียกว่า verb completion หรือส่วนขยายที่เรียกว่า verb modifiers สำหรับชนิดของประโยคนั้นแบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังนี้
                     ประเภทที่ 1 ประโยคความเดียว (simple sentence) คือประโยคที่มีอิสระ (independent clause) เพียงประโยคเดียวหรือกลุ่มคำหรือข้อความที่พูดออกไปแล้วมีใจความเดียว คือ มีประธานตัวเดียวและกริยาตัวเดียว เช่น My son does his exercise every day. The little boy often buy some toys. สำหรับ somple sentence นั้นยังแบ่งออกเป็นประโยคย่อยได้อีก 5 ประโยค ดังนี้         
                                                                                       
           1. ประโยคบอกเล่า (declarative sentence) เช่น I live in Lumpang. ผมอยู่ลำปาง He will be back here in  few minute. เขาจะกลับมาที่นี่ภายใน 2-3 นาทีนี้   2. ประโยคปฏิเสธ (negative sentence) เช่น I don't live in Ayuttaya. ผมไม่ได้อยู่อยุธยา He isn't able to speak Japanese fluently. เขาไม่สามารถพูดญี่ปุ่นได้ดี3. ประโยคคำถาม (interrogative sentence) เช่น Were you born in Bangkok? คุณเกิดที่กรุงเทพหรือ? Does he own this house? เขาเป็นเจ้าของบ้านหลังนี้เหรอ?   4. ประโยคขอร้อง (imperative sentence) เช่น Please  open the window. กรุณาเปิดหน้าต่างหน่อย Be quiet in the library. จงเงียบเมื่ออยู่ในห้องสมุด   5. ประโยคอุทาน (exclamatory sentence) There gone the bus! รถเมล์ไปที่นั่นแล้ว How cold it is! อากาศหนาวอะไรอย่างนี้
                     ประเภทที่ 2 ประโยคความรวม (compound sentence) คือประโยคที่ประกอบด้วยประโยคอิสระ ( independence clause) ตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไป และมีคำสันธารหรือคำเชื่อมมาเชื่อมประโยคเข้าด้วยกันได้แก่ and, nor, or, but, yet, so, for เช่น Tony is lazy, but Nana is diligent. สำหรับการใช้ตัวเชื่อมของ compound sentence นั้นก็จะมี 3 ประเภทดังนี้ 1. การใช้ Co-ordinate conjunction Co-ordinate conjunction มี 7 ตัว คือ and,  or,  nor,  but,  so,  for,  yet  เช่น You will do these home works. You will be punished.  -You will do these home works, or you will be punished.  2. การใช้ correlative conjunction คือตัวเชื่อมที่เป็นคู่ได้แก่ Either…or, Neither…nor, Not only…but also. Both…and เช่น John cooked for his sick wife. He did the laundry himself. – Not only did John cook for his sick wife but also he did the laundry himself. 3. การใช้ conjunctive adverb ได้แก่ moreover, besides, furthermore, otherwise, accordingly, however, still, nevertheless, thus, therefore, consequently, hence เช่น There  was no news from her son. She went on hoping. – There was no news from her son: however she went on hoping.
                  ประเภทที่ 3 ประโยคความซ้อน complex sentence คือประโยคผสมระหว่างประโยคอิสระ (independence clause) หนึ่งประโยคกับประโยคย่อย (subordinate clause) อย่างน้อยหนึ่งประโยคขึ้นไป การรวมประโยคนั้นอาจใช้คำต่อไปนี้เป็นตัวเชื่อมระหว่างประโยค Main clause กับ subordinate clause คือ 1. ใช้คำเชื่อมแฝง subordinate conjunction ได้แก่ if, as if, since, because, that, whether, lest เป็นต้น He said that he would come back soon. เขาพูดว่าเขาจะกลับมาเร็วๆนี้ 2. ใช้ประพันธ์สรรพนาม relative pronoun คำเชื่อมได้แก่ who, whom, whose, which, that, as, but, what, of wish, where เช่น She made the same mistake as her sister did. หล่อนได้ทำผิดอย่างเดียวกับที่น้องสาวของหล่อนทำ 3. ใช้สัมพันธ์วิเศษ relative adverb คำเชื่อมได้แก่ whenever, why, wherever, how เช่น He will go wherever she lives. เขาจะไปที่ไหนก็ได้ที่หล่อนอยู่
                    ประเภทที่ 4 ประโยคความผสม compound-complex sentence คือประโยคผสมระหว่างประโยครวมกับประโยคความซ้อน จึงประกอบด้วยประโยคหลักตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปและประโยครองหรืออนุประโยคอย่างน้อย 1 ประโยค เช่น While Somsak played the guitar, the boys sang and the girl danced. ขณะที่สมศักดิ์เล่นกีต้าร์เด็กผู้ชายก็ได้ร้องเพลงและเด็กผู้หญิงก็ได้เต้นรำ มีประโยคหลัก main clause หรือ principal clause มีอยู่สองประโยคคือ The boys sang. และ The girl dance. มีประโยครองหรืออนุประโยค subordinate clause อยู่หนึ่งประโยคคือ While Somsak played guitar.
                     หลังจากที่ได้ศึกษาชนิดของประโยคแล้วว่ามีกี่ชนิดและมีความหมายหลักการใช้อย่างไร จากนั้นเราก็ต้องศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง adjective clause ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้ adjective clause คำนำหน้าจะมี relative pronoun หรือ relative adverb นำมาข้างหน้า ดังนี้ adjective clause จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า relative clause สำหรับการศึกษาเรื่อง adjective clause นั้นจะศึกษาในหัวข้อต่อไปนี้
                     คำที่ใช้เชื่อม adjective clause กับคำนามหรือสรรพนามที่มาข้างหน้ามีดังนี้ 1. Relative pronoun ได้แก่ who, whom, whose, ใช้แทนคน which ใช้แทนสัตว์และสิ่งของ that ใช้แทนได้ทั้งคน สัตว์และสิ่งของ 2. Relative adverbs ได้แก่ where ใช้แทนสถานที่ when ใช้แทนเวลา why ใช้แทนเหตุผล
                    การใช้คำนำหน้า adjective clause มีหลักการดังต่อไปนี้                                                                      
               1. Relative pronoun who, whom, whose ใช้แทนคำนามข้างหน้าที่เป็นคน                                                                                                                                        
          who ใช้แทนประธานของคำกริยาใน adjective clause เช่น  He is the man who can play football very well.เขาคือผู้ชายที่สามารถเล่นฟุตบอลได้เก่งมาก                                                                                                                   
          whom ใช้เป็นกรรมของกริยาหรือคำบุพบทใน adjective clause แทนเหตุผล เช่น She is a good girl whom he wants to marry. เธอเป็นผู้หญิงที่ดีที่เขาต้องการแต่งงานด้วย                                                                                        
          whose ใช้แสดงความเป็นเจ้าของระหว่างคำนามที่มาข้างหน้าและคำนามที่อยู่ข้างหลัง เช่น This is the woman whose husband is a teacher. นี่คือผู้หญิงที่สามีของเธอเป็นอาจารย์                                                 
                                 
          which ใช้แทนคำนามข้างหน้าที่เป็นสัตว์และสิ่งของโดยทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมใน adjective clause เช่น The shirt (which) I bought yesterday is too small. เสื้อตัวนี้ที่ผมซื้อเมื่อวานมันตัวเล็กเกินไป   
           that ใช้แทนได้ทั้งตน สัตว์ สิ่งของ โดยทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของคำกริยา โดยปกติใช้ that เมื่อคำนามที่อยู่ข้างหน้ามีคำคุณศัพท์แสดงการเปรียบเทียบขั้นสูงสุดหรือคำคุณศัพท์บอกลำดับที่มาขยายคำนามนั้น เช่น The robbers that robbed the bank last week are arrested.   คนร้ายที่ปล้นธนาคารเมื่อสัปดาห์ที่แล้วถูกจับได้แล้ว
                  2.  relative  adverb  where ใช้แทนคำนามที่บอกสถานที่ ทำหน้าที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์ เช่น The university where my brother is studying is on the next street.  ประโยคตัวอย่างสามารถแยกได้เป็น 2 ประโยคย่อยและนำมารวมกันได้ดังนี้ a. The university is on the next street. b. My brother is studying at the university .                                                                                                                                                        
             when ใช้แทนคำนามที่บอกเวลาซึ่งทำหน้าที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์ใน adjective clause เช่น It's 5 o'clock when the meeting will begin today.  ประโยคตัวอย่างสามารถแยกเป็น 2 ประโยคย่อยและนำมารวมกันได้ดังนี้      a. It's 5 o'clock. b. The meeting will begin at 5 o'clock today.  It was in March 2010 when the red-shirted people started their rally.  ประโยคตัวอย่างสามารถแยกได้เป็น 2 ประโยคย่อยและนำมารวมกันได้ดังนี้ a. It was in March 2010. b. The red-shirted people started their rally in March 2010.                                                    
             why ใช้แทนคำนามที่บอกเหตุผล ทำหน้าที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์ใน adjective clause เช่น Give me a reason why you don't like the Prime Minister.  ประโยคตัวอย่างสามารถแยกเป็น 2 ประโยคย่อยและนำมารวมกันได้ดังนี้ a. Give me a reason. b. You don't like the Prime Minister for this reason.
                      สำหรับเรื่องสุดท้ายที่จะศึกษาในครั้งนี้คือ การทำ adjective clause ให้เป็น adjective phrase โดยการลดรูป adjective clause ซึ่งสามารถลดรูปเป็นกลุ่มคำต่างๆได้ โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้ คำนำหน้า who, whom, which ,that ที่ทำหน้าที่เป็นประธานของ adjective clause สามารถลดรูปเป็นกลุ่มคำต่างๆได้ โดยเมื่อลดรูปแล้วจะกลายเป็นกลุ่มคำนามดังนี้                                                                                                  
                1. Appositive Noun Phrase   adjective clause ซึ่งมี who, which และ that เป็นประธาน สามารถลดรูปได้   หากหลัง who, which และ that มี BE และให้ตัด BE ออกด้วย เมื่อลดรูปแล้ว จะเป็นกลุ่มคำนาม ที่เรียกว่า appositive ดังนี้ Prof. Chakarin, who is my thesis adviser, will retire next year. ลดรูปเป็น Prof. Chakarin, my thesis adviser , will retire next year. His novel, which is entitled Behind the Picture , is very popular. ลดรูปเป็น His novel, Behind the Picture , is very popular.                                                                                           
              2. Prepositional Phrase   adjective clause ที่มี who, which และ that เป็นประธาน สามารถลดรูปได้ หากหลัง who, which และ that มีคำกริยาและบุพบท ที่ถ้าตัดคำกริยาแล้วเหลือแต่บุพบท ยังมีความหมายเหมือนเดิม ให้ตัดคำกริยาออกได้ เมื่อลดรูปแล้ว เป็นกลุ่มคำนามที่เรียกว่า prepositional phrase ดังนี้  The lady who is dressed in the national costume is a beauty queen. ลดรูปเป็น The lady in the national costume is a beauty queen. ในที่นี้ dressed in the national costume มีความหมายเหมือน in the national costume                                    
             3. Infinitive Phrase adjective clause ที่มี who, which และ that สามารถลดรูปได้ หากข้างหลังมีกริยาในรูปBE + infinitive with to เมื่อลดรูปแล้ว เป็นกลุ่มคำนามที่เรียกว่า infinitive phrase ดังนี้ He is the first person who is to be blamed for the violence yesterday. ลดรูปเป็นHe is the first person to be blamed for the violence yesterday.                                                                                                                                                      
           4. Participial Phrase     1) Present Participial Phrase   adjective clause ซึ่งมี who เป็นประธาน   สามารถลดรูปได้ หากหลัง who มีกริยาแท้ ลดรูปโดยตัด who และเปลี่ยนกริยาหลัง who เป็น present participle (V-ing) เช่น The school students who visited the national museum were very excited. ลดรูปเป็น The school students visiting the national museum were very excited. 2) Past Participial Phrase  adjective clause ซึ่งมี which และ who เป็นประธาน สามารถลดรูปได้ หากหลัง which และ who มีกริยาในรูป passive form (BE + past participle) ลดรูปโดยตัด which/who และ BE ออกเหลือแต่ past participle ดังนี้ The money which was lost during the trip was returned to its owner. ลดรูปเป็น The money lost during the trip was returned to its owner.
                     จากการเรียนรู้ในห้องเรียนในครั้งนี้ ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้เนื้อหาทั้งหมด 3 เรื่องหลักด้วยกันคือ ชนิดของประโยค หลักการใช้ adjective clause (relative clause) และการเปลี่ยนประโยคจาก adjective clause ให้เป็น adjective phrase เนื้อหาในการเรียนรู้นอกห้องเรียนเรื่อง adjective clause ทั้งหมดนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของดิฉันเพื่อนำไปต่อยอดและพัฒนาซึ่งนำไปสู่การแปลประโยคให้กระชับและถูกต้องและที่สำคัญเราต้องเข้าใจในแต่ละประโยคและชนิดของประโยคได้ถูกต้องเพื่อเพิ่มศักยภาพในภาษาอังกฤษให้เพิ่มยิ่งขึ้น





               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น